สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร โดย นายนิคม สุทธา นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ กองบริหารงานบริการวิชาการ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้กับผู้บริหาร สมาชิกสภา และพนักงาน องค์การบริหารส่วนตำบลทานตะวัน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย จำนวน 38 คน พร้อมถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ณ แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ปรับปรุงข้อมูล : 25/9/2567 9:39:46     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 17

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การจัดทำแผนปฏิบัติการ สำนักวิจัยฯ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2568"
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 เวลา 08.30-16.30 น. สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร" กล่าวต้อนรับโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ และแนะนำผู้บริหารในหน่วยงาน กล่าวเปิดโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รักษาการแทนรองอธิการบดี พร้อมทั้งให้นโยบายบริหารจัดการด้านการวิจัย และด้านการบริการวิชาการ นำเสนอแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดย นายวรุณสิริ สุจินดา หัวหน้างานยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผล กองแผนงาน สำนักงานมหาวิทยาลัย ต่อจากนั้นมีการนำเสนอการบริหารจัดการหน่วยงาน นำเสนอการวิเคราะห์ SWOT และแผนการดำเนินงานของแต่ละกอง ทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวิเคราะห์ SWOT ANALYSIS ภาพรวมของสำนักวิจัยฯ พร้อมระดมความคิดในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีผู้บริหารและบุคลากรสำนักวิจัยฯ เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 304 สำนักวิจัยฯ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
31 ตุลาคม 2567     |      17
ร่วมรำลึกถึง ศ.ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้
เมื่อวันพุธที่ 30 ตุลาคม  2567  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ จัดงานวันวิภาต บุญศรี วังซ้าย  โดยได้รับเกียรติจาก  ดร.อำนวย  ยศสุข  นายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธี   พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี นำทีมคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นต่างๆ และนักศึกษา กล่าวสดุดี วางพวงมาลา  เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที รำลึกถึงคุณความดีของ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี  วังซ้าย  อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้  โอกาสนี้ อาจารย์พัชรินทร์ สุกัณศีล ทายาท ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ให้เกียรติเข้าร่วมงานในครั้งนี้      พร้อมกันนี้ได้มีพิธีมอบทุนการศึกษา มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย จำนวน 3 ทุน เป็นเงิน  30,000 บาท  และทุนการศึกษาจากชมรมจักรยานศิษย์เก่าแม่โจ้ จำนวน 8 ทุน เป็นเงิน 40,000 บาท เพื่อจัดสรรทุนส่งมอบโอกาสการทางการศึกษาให้น้อง ๆ นักศึกษาแม่โจ้ ต่อไป  ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างอบอุ่น ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ วิภาต บุญศรี วังซ้าย  สำนักหอสมุด มหาวิทยลัยแม่โจ้  จ.เชียงใหม่ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1  เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12  มีนาคม 2459  หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่  ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่  และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477  ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้   เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์   จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484  จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง  พอถึงปี พ.ศ. 2497 ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัย ท่านเป็นครูผู้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต  บุคคลผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้ เอาชนะอุปสรรค  คนต้นแบบลูกแม่โจ้  ผู้ให้อมตะโอวาท “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” คติพจน์ประจำใจของลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบัน
31 ตุลาคม 2567     |      11
การบรรยายหัวข้อ : ทิศทางใหม่ ยกระดับแผนงานวิจัยเพื่อพัฒนา
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2567 สำนักวิจัยฯ  จัดการบรรยายในหัวข้อ "ทิศทางใหม่ ยกระดับแผนงานวิจัยเพื่อพัฒนา" โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รักษาการแทนรองอธิการบดี กล่าวเปิดพิธี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ กล่าวรายงานโครงการฯ วิทยากรบรรยาย โดย คุณวิชัย ทองแตง ประธานมูลนิธิหนึ่งน้ำใจ ONE LOVE FOUNDATION และทีมงาน เพื่อยกระดับแผนงานวิจัย โครงการวิจัย Project สู่การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้มุ่งสู่ความเป็นเลิศงานวิจัยและบริการวิชาการด้านเกษตร อาหาร และสุขภาพ สู่เกษตรสุขอัจฉริยะ (Intelligent Well-Being Agriculture: IWA) โดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การบรรยายจัด ณ ห้องข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
29 ตุลาคม 2567     |      24
พิธีลงนามความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ มูลนิธิชัยพัฒนา ในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด  ลงนามความร่วมมือ กับ มูลนิธิชัยพัฒนา ว่าด้วย "ความร่วมมือในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช” โดยมี นายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และ นายชัยยศ สัมฤทธิ์กุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้และ กรรมการ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด เป็นผู้แทนลงนามทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ มีผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยาน  ณ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานคร โอกาสนี้ รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า "สืบเนื่องด้วยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้พัฒนาพันธุ์ผักจำนวน 19 พันธุ์ โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อและให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช โดยให้มูลนิธิเป็นผู้ทรงสิทธิในเมล็ดพันธุ์นี้ ซึ่งในเบื้องต้นมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์นี้ร่วมกับศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ภายใต้การกำกับดูแลของมูลนิธิชัยพัฒนาเพื่อพระราชทานแก่เกษตรกรผู้เพาะปลูก บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด เป็นบริษัทที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดตั้งขึ้น เพื่อจำหน่ายเมล็ดพันธุ์อินทรีย์และสินค้าที่เกี่ยวข้องด้านเกษตรอินทรีย์ และเป็นสถานที่ให้ความรู้ด้านธุรกิจ เมล็ดพันธุ์ในการเกษตรอินทรีย์ มูลนิธิชัยพัฒนาพิจารณาแล้วมีความเห็นว่าการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เป็นอินทรีย์จำหน่ายให้แก่เกษตรกรจะก่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรในระบบอินทรีย์อย่างมาก เนื่องจากในการผลิตผักอินทรีย์นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ที่เป็นอินทรีย์และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เน้นขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพและสามารถนำไปปลูกต่อได้ มูลนิธิชัยพัฒนา และ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด จึงได้ตกลงร่วมมือในการผลิต เมล็ดพันธุ์ที่เป็นอินทรีย์ที่ได้จดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืชในนามของมูลนิธิชัยพัฒนา โดยให้มูลนิธิเป็นผู้ทรงสิทธิในเมล็ดพันธุ์นี้ ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้ปรับปรุงพันธุ์ ของเมล็ดพันธุ์นี้ด้วยกระบวนการผลิตที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนด" ??สำหรับเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ทั้ง 19 ชนิด ได้แก่ ถั่วฝักยาวสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีเหลืองเทพรัตน์ เบอร์ 1, ถั่วฝักยาวลายเสือจักรพันธ์ เบอร์ 1, มะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์,  พริกขี้หนูปู่เมธ, แตงไทยหอมละมุน, สลัดช่อผกาพัฒนาเอง, พริกพัฒนฉันท์, สลัดสวยงาม, ถั่วฝักยาวเสือเขียว, ถั่วฝักยาวเสือลายพาดกลอน, ถั่วฝักยาวเสือดุ, ถั่วฝักยาวเสือขาว, ถั่วพูของชอบ, สลัดของขวัญ, สลัดขายดี, สลัดรสดี และสลัดคนดี ??ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ Facebook: ศูนย์ปรับปรุงพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / ไลน์ไอดี: @firstorganicseeds (ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์) / E-Mail: 09farm.mju@gmail.com หรือโทร 091 070 5757 ทั้งนี้ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ มอบสมทบมูลนิธิชัยพัฒนา
29 ตุลาคม 2567     |      27