สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด  ลงนามความร่วมมือ กับ มูลนิธิชัยพัฒนา ว่าด้วย "ความร่วมมือในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช” โดยมี นายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และ นายชัยยศ สัมฤทธิ์กุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้และ กรรมการ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด เป็นผู้แทนลงนามทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ มีผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยาน  ณ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานคร
โอกาสนี้ รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า
"สืบเนื่องด้วยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้พัฒนาพันธุ์ผักจำนวน 19 พันธุ์ โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อและให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช โดยให้มูลนิธิเป็นผู้ทรงสิทธิในเมล็ดพันธุ์นี้ ซึ่งในเบื้องต้นมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์นี้ร่วมกับศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ภายใต้การกำกับดูแลของมูลนิธิชัยพัฒนาเพื่อพระราชทานแก่เกษตรกรผู้เพาะปลูก
บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด เป็นบริษัทที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดตั้งขึ้น เพื่อจำหน่ายเมล็ดพันธุ์อินทรีย์และสินค้าที่เกี่ยวข้องด้านเกษตรอินทรีย์ และเป็นสถานที่ให้ความรู้ด้านธุรกิจ เมล็ดพันธุ์ในการเกษตรอินทรีย์ มูลนิธิชัยพัฒนาพิจารณาแล้วมีความเห็นว่าการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เป็นอินทรีย์จำหน่ายให้แก่เกษตรกรจะก่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรในระบบอินทรีย์อย่างมาก เนื่องจากในการผลิตผักอินทรีย์นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ที่เป็นอินทรีย์และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เน้นขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพและสามารถนำไปปลูกต่อได้
มูลนิธิชัยพัฒนา และ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด จึงได้ตกลงร่วมมือในการผลิต เมล็ดพันธุ์ที่เป็นอินทรีย์ที่ได้จดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืชในนามของมูลนิธิชัยพัฒนา โดยให้มูลนิธิเป็นผู้ทรงสิทธิในเมล็ดพันธุ์นี้ ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้ปรับปรุงพันธุ์ ของเมล็ดพันธุ์นี้ด้วยกระบวนการผลิตที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนด"
??สำหรับเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ทั้ง 19 ชนิด ได้แก่ ถั่วฝักยาวสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีเหลืองเทพรัตน์ เบอร์ 1, ถั่วฝักยาวลายเสือจักรพันธ์ เบอร์ 1, มะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์,  พริกขี้หนูปู่เมธ, แตงไทยหอมละมุน, สลัดช่อผกาพัฒนาเอง, พริกพัฒนฉันท์, สลัดสวยงาม, ถั่วฝักยาวเสือเขียว, ถั่วฝักยาวเสือลายพาดกลอน, ถั่วฝักยาวเสือดุ, ถั่วฝักยาวเสือขาว, ถั่วพูของชอบ, สลัดของขวัญ, สลัดขายดี, สลัดรสดี และสลัดคนดี
??ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ Facebook: ศูนย์ปรับปรุงพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / ไลน์ไอดี: @firstorganicseeds (ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์) / E-Mail: 09farm.mju@gmail.com หรือโทร 091 070 5757
ทั้งนี้ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ มอบสมทบมูลนิธิชัยพัฒนา

ปรับปรุงข้อมูล : 29/10/2567 11:35:34     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 131

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

เสวนาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์งานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2568-2572
เมื่อวันที่ 16  มิถุนายน 2568 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดเสวนา เรื่อง “การจัดทำแผนยุทธศาสตร์งานวิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2568-2572” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธาน ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำเสนอร่าง แผนยุทธศาสตร์งานวิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2568-2572 เป้าหมาย และตัวชี้วัดสำคัญ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุบรรณ ฝอยกลาง  รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายวิจัย ผู้เข้าร่วมเสวนา วิพากษ์ ร่าง แผนยุทธศาสตร์งานวิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2568-2572 เป้าหมาย และตัวชี้วัดสำคัญ พร้อมกำหนดแผนงานวิจัย สำหรับงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (FF) ประจำปี พ.ศ. 2570  วัตถุประสงค์เพื่อร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์งานวิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2568-2572 และพัฒนาแผนงานวิจัยให้สอดคล้องกับนโยบาย เป้าหมายและทิศทางของมหาวิทยาลัย สำหรับการเสนอของบประมาณ เพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund: FF) และงบประมาณโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Development Fund: ST)
18 มิถุนายน 2568     |      14
งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ (Thailand Research Expo 2025)
นิทรรศการนำเสนอผลงานวิจัย ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ Thailand Research Expo 2025 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิรด์ กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2568 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภานุวัฒน์ เมฆะ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานวิจัย จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่1.การพัฒนาเครื่องอบแห้งลมร้อนแบบถาดหมุนระบบควบคุมอุณหภูมิ 2 ขั้นตอน โดย รศ.ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้2.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เพื่อยกระดับข้อมูลผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากดอกดาวเรืองอินทรีย์โดยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน โดย ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม , ดร.ประนอม ยังคำมั่น และ ผศ. ดร.ณภัทร เรืองนภากุล พร้อมทั้งนำเมล็ดพันธุ์ผัก แจกให้กับผู้มาเยี่ยมชมงานวิจัยงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 (Thailand Research Expo 2025) "Research for All เชื่อมต่ออนาคตไทย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน 2568 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิรด์ กรุงเทพมหานคร
18 มิถุนายน 2568     |      12
พิธีวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ
พิธีวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ ร่วมรำลึกประวัติศาสตร์ ก้าวสู่เวทีสากล** เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนืออย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้แนวคิด “91 แม่โจ้ ก้าวสู่อันดับโลก” โดยได้รับเกียรติจาก **ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เทพ พงษ์พานิช** นายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธี ท่ามกลางบรรยากาศเปี่ยมด้วยความสามัคคีของคณะผู้บริหาร ผู้แทนคณาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่าจากทั่วประเทศ และองค์กรนักศึกษาที่เข้าร่วมอย่างคับคั่ง พิธีเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 08.59 น. ด้วยการบวงสรวงพระพิรุณทรงนาค และวางพวงมาลาคารวะอนุสาวรีย์ **อำมาตย์โทพระช่วงเกษตรศิลปการ** “บิดาเกษตรแม่โจ้” ผู้บุกเบิกวางรากฐานการเกษตรและการศึกษาไทย ซึ่งได้รับเกียรติจาก **คุณขุมทรัพย์ โลจายะ** ทายาทอำมาตย์โทพระช่วงฯ ร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย ภายในงาน ศิษย์เก่ารุ่นต่างๆ ได้ร่วมกันมอบเงินสนับสนุนกว่า 200,000 บาท เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ และผู้แทนศิษย์เก่าแต่ละรุ่น แต่ละภูมิภาค เข้าร่วมแสดงพลังศรัทธาอย่างเนืองแน่น **รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ สุภาพันธ์** รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วยบุคลากร ร่วมพิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์อำมาตย์โทพระช่วงเกษตรศิลปการ แสดงถึงความเคารพในรากฐานและจิตวิญญาณแม่โจ้ที่สืบทอดมายาวนาน ในโอกาสครบรอบ 91 ปี นับตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2477 แม่โจ้ได้ก้าวข้ามจากโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ สู่ **มหาวิทยาลัยแม่โจ้** ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 9 ของมหาวิทยาลัยไทย และเป็นอันดับ 3 ในด้านคุณภาพการวิจัยที่ดีที่สุดของประเทศ (SCImago Institutions Rankings) พร้อมทั้งติดอันดับ 12 ของมหาวิทยาลัยไทย ในกลุ่ม Top 401 – 600 ของโลก จากการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (THE Impact Rankings 2024) นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวเป็นอันดับ 11 ของประเทศ และอันดับที่ 143 ของโลก พร้อมอยู่ในกลุ่ม Top 10 มหาวิทยาลัยรัฐที่มีผู้สนใจเข้าศึกษาต่อมากที่สุดอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่เหล่านี้เป็นผลจากการมุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐานอย่างยั่งยืน งานวันคล้ายวันสถาปนาในปีนี้จึงไม่เพียงแต่เป็นการรำลึกถึงประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า แต่ยังเป็นเวทีแสดงพลังสามัคคีและความภาคภูมิใจของชาวแม่โจ้ที่มุ่งสู่เวทีโลกอย่างมั่นคง “ไม่มีพระช่วงฯ ไม่มีแม่โจ้” คำกล่าวนี้ยังคงซาบซึ้งอยู่ในหัวใจชาวแม่โจ้ทุกยุคทุกสมัย สะท้อนถึงวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำสถาบันการศึกษาเกษตรของไทยที่ยืนหยัดมาอย่างต่อเนื่องถึง 91 ปี
10 มิถุนายน 2568     |      32
กิจกรรม MJU ECO DAY รณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลก
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้จัดกิจกรรมพิเศษ "MJU ECO DAY" เพื่อรำลึกถึงวันสิ่งแวดล้อมโลก โดยมุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการลดการใช้พลาสติกในชีวิตประจำวัน รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดงานในครั้งนี้ ณ อาคารแผ่พืชน์ โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนของโลกใบนี้ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภายใต้การนำของผู้ช่วยศาสตราจารย์ภานุวัฒน์ เมฆะ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริหาร พร้อมทีมบุคลากร ได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่ โดยจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ไฮไลท์ของงาน: แซนด์วิชใบตองลดพลาสติก จุดเด่นของกิจกรรมในครั้งนี้คือการจัดกิจกรรมเวิร์กช็อป "การทำแซนด์วิชที่ใช้ใบตอง" ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจในการลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก โดยมีนายณัฐวุฒิ เครือฟู ทำหน้าที่เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม การใช้ใบตองแทนพลาสติกในการห่ออาหารนี้ ไม่เพียงแต่เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยที่มีการใช้ใบตองในการห่อและบรรจุอาหารมาแต่โบราณ ความหมายและผลกระทบ กิจกรรม MJU ECO DAY ในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการเป็นสถาบันการศึกษาที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการนำองค์ความรู้ทางวิชาการมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม การจัดกิจกรรมในลักษณะนี้ไม่เพียงแต่สร้างความตระหนักรู้แก่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย แต่ยังเป็นแบบอย่างที่ดีในการขยายผลไปสู่ชุมชนและสังคมในวงกว้าง โดยเฉพาะการส่งเสริมการใช้วัสดุธรรมชาติทดแทนพลาสติกซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโลกในปัจจุบัน กิจกรรมนี้จึงถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม และการปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์โลกให้แก่คนรุ่นใหม่อย่างยั่งยืนต่อไป
10 มิถุนายน 2568     |      20