ประชาชน/ชุมชน ในระดับฐานรากซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) รวมทั้งยังขาดขีดความสามารถทางด้าน วทน. เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานที่มีพันธกิจประการหนึ่งในการส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้มีการสร้างกลไก/เครื่องมือในการนำเทคโนโลยีมาจากผลงานวิจัยและพัฒนา แพร่กระจายและถ่ายทอดฯ ไปยังชุมชน/ท้องถิ่น ที่เรียกว่า คลินิกเทคโนโลยี เมื่อปี 2546 โดยความร่วมมือกับหน่วยงานในสังกัด วท. และสถาบันการศึกษา ปัจจุบัน (ปี2556) มีเครือข่ายกว่า 70 เครือข่าย ครอบคลุมพื้นที่ 67 จังหวัด รวมทั้งสร้างและเพิ่มขีดความสามารถด้าน วทน. ให้แก่สมาชิกอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (อสวท.) ที่จะเป็นสื่อกลางด้าน วทน.ในชุมชน กว่า 6,765 คน และเมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้พัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ให้เป็นต้นแบบในการนำ วทน. ไปใช้ในการพัฒนาอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต ปัจจุบันมีหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ได้มีการนำ วทน.ไปใช้ประโยชน์ จำนวน 251 หมู่บ้านใน 206 อำเภอ 64 จังหวัด โดยมีผู้รับประโยชน์จากการนำ วทน. ไปใช้ปีละไม่น้อยกว่า 20,000 คน สร้างรายได้หรือลดรายจ่ายได้ ปีละ 86.36-160.30 ล้านบาท รวมทั้งสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งข้อมูลเทคโนโลยีผ่านช่องทางต่างๆ (ทางเวปไซต์ ทางโทรศัพท์ สิ่งพิมพ์ การบริการเคลื่อนที่) ทั้งที่ระบุตัวตนได้และระบุตัวตนไม่ได้ ปีละไม่น้อยกว่า 800,000 คน

       ดังนั้น เพื่อให้ประชาชน/ชุมชน ได้รับโอกาสในการเพิ่มขีดความสามารถทางด้าน วทน. จึงได้พัฒนากิจกรรมเดิมข้างต้น ให้มีการประสานสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของประเทศ ข้อ 6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม ข้อ 6.2.3  สนับสนุนภาคเอกชนและชุมชนในการพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับภาครัฐ เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ : ประเทศไทยพัฒนาไปสู่การเป็นสังคมที่อยู่บนเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Base Economy)

 

 


คลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร  ฝายนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
โทร.0 53 873863  Mail :  pimonsiri_s@mju.ac.th

 


ปรับปรุงข้อมูล 1/4/2558 11:26:41
, จำนวนการเข้าดู 260