สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University
พิธีลงนามความร่วมมือ ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ USDA Regional Agriculture Innovation Network (RAIN) ส่งเสริมนวัตกรรมการเกษตร รับมือผลกระทบวิกฤตสภาพอากาศ เพื่อยกระดับภาคการเกษตรและเครือข่าย
วันที่ 19 มีนาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และองค์การวินร็อค อินเตอร์เนชั่นแนล (Winrock International) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ USDA Thailand Regional Agriculture Innovation Network (RAIN) ซึ่งเป็นเครือข่ายผลักดันนวัตกรรมด้านการเกษตรในระดับภูมิภาคที่ได้รับการสนับสนุนการเงินจากโครงการ Food for Progress ภายใต้การบริหารของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) มุ่งสร้างความร่วมมือตรวจสอบนวัตกรรมการเกษตรที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา และขยายผลส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ในวงกว้าง เพื่อรับมือกับผลกระทบที่มาจากวิกฤตสภาพอากาศ....รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับและขอบคุณผู้มาร่วมงาน และคุณลิสา เอ.บูเจนนาส กงสุลใหญ่อเมริกา ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกียรติกล่าวแสดงความยินดีต่อการลงนามบันทึกข้อตกลง โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคุณวิลเลี่ยม สปาร์คส์ ผู้อำนวยการโครงการ RAIN เป็นผู้แทนลงนามทั้งสองฝ่าย ณ ห้องประชุมสภา ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่....การลงนามในบันทึกข้อตกลงนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกันของทั้งสองหน่วยงานในการตรวจสอบ นวัตกรรมภาคเกษตรกรรมที่ช่วยให้รับมือกับผลกระทบวิกฤตสภาพอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวทางของการสร้างความยั่งยืน และการขยายตลาด ตลอดจนขยายผลสนับสนุนให้เกษตรกรไทยใช้นวัตกรรมดังกล่าวในวงกว้าง RAIN จะใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เช่นการใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว องค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการผลิตลำไย ฟาร์มต้นแบบสวนลำไยอินทรีย์อัจฉริยะ การจัดการฟาร์มอย่างชาญฉลาด และการจัดการระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพ ร่วมกันพัฒนาต่อยอดและขยายผลให้เกิดประโยชน์ต่อเครือข่ายนวัตกรรมด้านการเกษตรทั้งในและต่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
26 เมษายน 2567     |      29
นักวิจัยพบแหล่งทุนหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 08.30-13.00 น. สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดฝึกอบรม "นักวิจัยพบแหล่งทุนหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)" ประธานกล่าวเปิดฝึกอบรมและกล่าวต้อนรับโดย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีการบรรยายเรื่องแนวทางการสนับสนุนทุนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เพื่อพัฒนากำลังคนและขีดความสามารถของประเทศ โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวง ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนา สถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้และผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting)   เอกสารประกอบการประชุม   PowerPoint แนวทางการสนับสนุนทุนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เกษตรศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เพื่อพัฒนากาลังคน และขีดความสามารถของประเทศ โดย ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง คล้ายหนองสรวงVideo นักวิจัยพบแหล่งทุนหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
12 กุมภาพันธ์ 2567     |      197
การแข่งขันกีฬาบุคลากรสานสัมพันธ์ผู้บริหารกับบุคลากร ประจำปี 2566
วันที่ 27 ธันวาคม 2566 ผู้บริหารและบุคลากรสำนักวิจัยฯ นำโดย รองศาสตราจารย์ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาบุคลากรสานสัมพันธ์ผู้บริหารกับบุคลากร ประจำปี 2566 โดยมี รองศาสตราจารย์ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดการแข่งขันกีฬาดังกล่าว ซึ่งภายในงานมีการประกวดคนถือป้าย ขบวนพาเรด และการแข่งขันกีฬามหาสนุก ซึ่งในงานดังกล่าวสำนักวิจัยฯ ได้คว้ารางวัล spirit of sport กีฬาเปตอง และรางวัลประกวดคนถือป้ายประเภทสวยงาม ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ
12 มกราคม 2567     |      305
สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับเทศบาลเมืองแม่โจ้ จัดงาน "การประกวดส้มตำวัฒนธรรมอาหารทรงคุณค่าที่เลอค่าสู่ fine dining ครั้งที่ 1"
วันที่ 22 ธันวาคม 2566 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับเทศบาลเมืองแม่โจ้ จัดงาน"การประกวดส้มตำวัฒนธรรมอาหารทรงคุณค่าที่เลอค่าสู่ fine dining ครั้งที่ 1" ภายใต้โครงการ เสวนาวิชาการ ในหัวข้อ "การขับเคลื่อน Soft power ด้วยเกษตร อาหาร และสุขภาพสู่เวที่โลก" โดยมี นางมยุรา ตุ่นแก้ว สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด อำเภอสันทรายเขต 3 เป็นประธานในการเปิดงาน และได้รับเกียรติจาก นายนวนิตย์ พลเคน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการร่วมงานดังกล่าว ซึ่งภายในงานมีกิจกรรม การแข่งขันประกวดส้มตำประเภท healthy somtom จำนวน 12 ทีม และการแข่งขันประเภทมืออาชีพ fine dining จำนวน 4 ทีม ณ สวนป่าบุญศรีเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
12 มกราคม 2567     |      178
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
วันที่ 22 ธันวาคม 2566 สำนักวิจัยฯ จัดพิธีลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยมีวัตถุประสงค์ในการร่วมมือในด้านการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา นักวิจัย บุคลากรทั้งสองหน่วยงาน ในการ พัฒนางานวิชาการ งานวิจัย และการบริการวิชาการร่วมกันเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวไทยสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณค่าสูง (High Value Destination) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมลงนามกับ นายอารัญ บุญชัย ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นอกจากนี้ยังมีการเสวนา “ส้มตำวัฒนธรรมอาหารสร้างชาติ" โดยมี นายอารัญ บุญชัย ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นวิทยากร และมี รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ เป็นผูัดำเนินรายการ และ การบรรยายพิเศษ “การสร้างภาพลักษณ์ Soft Power สินค้าการเกษตรและอาหารของไทยไปเวทีโลกด้วยแนวคิด Local สู่เลอค่า" โดยมี อาจารย์สุทธิพงษ์ สุริยะ นักออกแบบอาหาร เป็นวิทยากร ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
12 มกราคม 2567     |      181
งานประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566
สำนักวิจัยฯ จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ทางวิชาการ รวมทั้งเผยแพร่ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมสู่สาธารณะ ในรูปแบบของการเสวนาวิชาการ และการนำเสนอบทความ เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างสถาบันการศึกษา วิจัยและพัฒนาของหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชน เพื่อต่อยอดขยายผล พัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ และสาธารณะต่อไปโดยมี ดร. อำนวย ยศสุข นายกสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในการเปิดงาน ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในระหว่างวันที่ 21-23 ธันวาคม 2566 ซึ่งภายในงานมีกิจกรรม ปาฐกถาพิเศษ “ ย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้เพื่อสร้างเป็นพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม” โดย กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน)และคุณมณฑา ไก่หิรัญ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมการเสวนาวิชาการ จำนวน 8 เรื่อง ได้แก่การเสวนา “Co-Creation: กระบวนการร่วมสร้างสรรค์เมืองนวัตกรรมเกษตรอาหารและสุขภาพ”การเสวนาวิชาการ “มอง“โลก”เห็น”เรา“ ปฏิบัติการบนฐานความรู้ว่าด้วย ป่าชุมชน ผู้คนบนฐานเศรษฐกิจชีวภาพของท้องถิ่นการเสวนาวิชาการ “การเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ทางด้านการเกษตร”การเสวนาวิชาการ “นวัตกรรมและเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตผลเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ”การเสวนาวิชาการ “ทิศทางเกษตรปลอดภัยในเวทีไทยและเวทีโลก”การเสวนาวิชาการ “Lanna Creative City : การยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนและผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนาด้วยนวัตกรรมการตลาดในยุคดิจิทัล”การเสวนาวิชาการ “การส่งเสริมถั่วลิสงพันธุ์ใหม่สู่การใช้ประโยชน์จากหิ้งสู่ห้าง”การเสวนาวิชาการ “การพัฒนาสวนยางพาราสู่สัมมาชีพชุมชน”การบรรยายพิเศษ จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่การบรรยายพิเศษ “เกษตร อาหาร และสุขภาพกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เวทีโลก” โดย ดร.จุฬารัตน์ ตันประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สายงานกลุ่ม กลยุทธ์องค์กรการบรรยายพิเศษ “กลยุทธ์การปั้นธุรกิจการเกษตรเพื่อความยั่งยืน” โดย นายวิชัย ทองแตง นักลงทุนใน ธุรกิจสตาร์ทอัพการบรรยายพิเศษ “Bioeconomy in Agriculture, food and Health” โดย นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจประธานกรรมการ กลุ่มมิตรมิตรผลและการนำเสนอผลงานวิจัย ภาคบรรยาย โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่ 1 เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร ด้านพืช สัตว์ และประมงกลุ่มที่ 2 นวัตกรรมการแปรรูปผลิตผลการเกษตรและอาหารกลุ่มที่ 3 นวัตกรรมด้านสุขภาพกลุ่มที่ 4 นวัตกรรมสิ่งแวดล้อมกลุ่มที่ 5 นวัตกรรมการตลาดและธุรกิจการเกษตร
12 มกราคม 2567     |      103
ทั้งหมด 98 หน้า