สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

ทุนวิจัยเชิงวิชาการ

พิมพ์

ลักษณะทุน 

             เน้นการสร้างนักวิจัยที่มีความสามารถสูงให้สร้างปัญญาและผลิตผลงานที่มีคุณภาพสูง รับผิดชอบโดยฝ่ายวิชาการ มีเป้าหมายในการสร้างนักวิจัยอาชีพที่มีความสามารถสูงให้สร้างปัญญาและผลิตผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ และสร้างความเข้มแข็งของชุมชนวิจัย

 

ทุนวิจัยของฝ่ายวิชาการแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ


1. ทุนวิจัยพื้นฐานจากความคิดริเริ่มของนักวิจัย แบ่งเป็น

     1.1 ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.)

            เป็นทุนสร้างทีมวิจัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนนักวิจัยอาวุโสที่มีความสามารถ มีจริยธรรม มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติให้สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีความสามารถทางวิชาการสูงให้แก่ประเทศ โดยเน้นหนักในการพัฒนาทีมงาน พัฒนาผลงาน และพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่เพื่อสร้างศักยภาพเชิงปัญญาระยะยาวของชาติ ผู้รับทุนต้องไม่เป็นผู้บริหารระดับคณบดีขึ้นไป โดยผู้ได้รับทุนจะได้รับชื่อ“เมธีวิจัยอาวุโส สกว.” (TRF Senior Research Scholar)

            ผู้ได้รับทุนจะได้เงินงบประมาณรวมไม่เกิน 7.5 ล้านบาท (2.5 ล้านบาท/ปี) สำหรับสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 6 ล้านบาท (2 ล้านบาท/ปี) สำหรับสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี

            ทุนประเภทนี้ไม่ได้เปิดให้สมัคร แต่ใช้วิธีการสรรหาและเสนอชื่อ โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะพิจารณาจากรายชื่อในกลุ่มต่างๆ เช่น รายนามศาสตราจารย์ในประเทศไทย รายนามนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น รายนามนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ รายนามผู้ได้รางวัลวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัยต่างๆ รายนามนักวิจัยอาวุโสที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้เสนอรายชื่อ และ รายนามคณาจารย์ที่มีผลงานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ หลังจากนั้นจะเรียนเชิญนักวิจัยผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน เขียนข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับเต็ม เพื่อ สกว. จะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินและใช้ประกอบการพิจารณาให้ทุนต่อไป

     1.2 ทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น

            เป็นทุนสนับสนุนการวิจัยแก่อาจารย์อาวุโสระดับศาสตราจารย์ที่มีผลงานวิจัยดีเด่นให้มีโอกาสได้พัฒนาและผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพในระดับชาติและระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ผู้สมัครต้องเป็นศาสตราจารย์ที่ปฏิบัติงานสอนและงานวิจัยเต็มเวลาในสถาบันอุดมศึกษาของไทย มีผลงานด้านการวิจัยในสาขาที่เชี่ยวชาญในระดับแนวหน้าอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ควรได้รับรางวัลในระดับชาติหรือระดับนานาชาติ หรือผ่านการรับทุนวิจัยหลักอื่นมาแล้ว อาทิ ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.) ทุนพัฒนากลุ่มวิจัย ของ สกอ. หรือทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ ของ สวทช. เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นนักวิจัยในระดับแนวหน้าในสาขานั้นอย่างแท้จริง ไม่มีตำแหน่งบริหารในขณะรับทุน และไม่รับทุนวิจัยหลักอื่น ๆ

            งบประมาณทุนละ 9,000,000 บาท ในระยะเวลา 3 ปี โดยแบ่งจ่ายเป็นรายปี ๆ ละ 3,000,000 บาท จำแนกเป็นค่าตอบแทนหัวหน้าโครงการไม่เกิน 50,000 ต่อเดือน และงบประมาณส่วนที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยไม่ต่ำกว่า 2,400,000 บาทต่อปี

            งบประมาณโครงการเป็นการร่วมทุนกันในลักษณะไตรภาคี คือ สกอ. และ สกว. จะจัดสรรทุนให้หน่วยงานละ 3,000,000 บาท รวมเป็น 6,000,000 บาท โดยที่สถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดจะสมทบให้อีก 3,000,000 บาท
 
     1.3 ทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนา (วุฒิเมธีวิจัย สกว.)

            เป็นทุนวิจัยระดับกลางสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ในการวิจัยพอสมควร ผู้อยู่ในข่ายได้รับทุนต้องเคยมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติที่ทำในประเทศไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เรื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาและเป็นเจ้าของบทความชื่อแรกหรือเป็น corresponding author และมีผลรวมของ impact factor อยู่ในเกณฑ์ดีทั้งนี้ขึ้นกับสาขาวิชา เช่น มีค่าไม่น้อยกว่า 5.0 สำหรับวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์ ไม่น้อยกว่า 2.0 สำหรับวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ ส่วนสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์จะไม่นำเกณฑ์ของ impact factor มาพิจารณา ผู้ได้รับทุนจะได้รับชื่อ “วุฒิเมธีวิจัย สกว.” (TRF Advanced Research Scholar)

            ทุนวิจัยองค์ความรู้ใหม่มีวงเงินไม่เกิน 2,000,000 บาท ระยะเวลาของทุนไม่เกิน 3 ปี โดยเป็นค่าตอบแทนของหัวหน้าโครงการเดือนละ 15,000-25,000 บาท ตามคุณภาพและประสบการณ์ของผู้ขอรับทุน

    1.4 ทุนพัฒนานักวิจัย (เมธีวิจัย สกว.)

           เป็นทุนที่สนับสนุนการวิจัยแก่อาจารย์และนักวิจัยให้ทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก และมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติไม่น้อยกว่า 2 เรื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยเป็นเจ้าของบทความชื่อแรกหรือเป็น corresponding author (ผู้วิจัยสำหรับการติดต่อ) ไม่น้อยกว่า 1 เรื่อง ทั้งนี้ ผลงานตีพิมพ์ทั้ง 2 เรื่องต้องเป็นงานวิจัยที่ทำในประเทศไทยและไม่ใช่ผลงานจากการทำวิทยานิพนธ์ ทั้งนี้ผู้สมัครต้องไม่เป็นผู้บริหารระดับหัวหน้าภาควิชาขึ้นไป ผู้ได้รับทุนได้ชื่อว่าเป็น “เมธีวิจัย สกว. (TRF Research Scholar)”

 

            งบประมาณปีละ 400,000 บาท ระยะเวลาโครงการไม่เกิน 3 ปี

 

     1.5 ทุนเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยของอาจารย์รุ่นกลางในสถาบันอุดมศึกษา (สกว. ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)

            เป็นทุนที่มีเป้าหมาย หลักเกณฑ์การให้ทุน วงเงินทุนวิจัยและระยะเวลาดำเนินการเช่นเดียวกับทุนพัฒนานักวิจัย แต่เปิดรับสมัครเฉพาะผู้สมัครที่เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของ สกอ. เท่านั้น และเป็นการร่วมสนับสนุนงบประมาณจาก สกว. และ สกอ.

 

            งบประมาณปีละ 400,000 บาท ระยะเวลาโครงการไม่เกิน 3 ปี



     1.6 ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ (สกว. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)

            เป็นทุนที่ สกว. ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนอาจารย์รุ่นใหม่ให้ทำวิจัยได้อย่างต่อเนื่อง ผู้อยู่ในข่ายรับทุนคืออาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของ สกอ. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า มาแล้วไม่เกิน 5 ปี ไม่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารตั้งแต่ระดับหัวหน้าภาควิชาขึ้นไป

            ทุนนี้มีวงเงินปีละไม่เกิน 240,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี



     1.7 ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่

            เป็นทุนที่สนับสนุนการวิจัยแก่อาจารย์และนักวิจัยให้ทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่ามาแล้วไม่เกิน 5 ปี และมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และไม่เป็นผู้บริหารระดับหัวหน้าภาควิชาขึ้นไป

 

            ทุนนี้มีวงเงินปีละไม่เกิน 240,000 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี

 


2. ชุดโครงการวิจัยพื้นฐานเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Basic Research)
     
     เพื่อสนับสนุนการสร้างผลงานวิจัยพื้นฐานที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศและสามารถต่อยอดผลงานวิจัยเพื่อประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ เชิงสาธารณะหรือเชิงนโยบายโดยมีชุดโครงการดังนี้

     - สมุนไพร ยารักษาโรคและสารเสริมสุขภาพ  เพื่อพัฒนาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพไปใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรค สารเสริมสุขภาพ เช่น สารต้านมะเร็ง  สารต้านการติดเชื้อ  สารต้านการอักเสบ  สารต้านไวรัส  และสารต้านอนุมูลอิสระ เป็นต้น

     - เกษตรยั่งยืน วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปอาหาร เพื่อสร้างองค์ความรู้พื้นฐาน ที่เน้นความเข้าใจในกลไกและกระบวนการที่เกี่ยวกับการพัฒนาวิธีการผลิตพืชอาหารอย่างยั่งยืน การพัฒนาวิธีการเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนการแปรรูปเพื่อให้มีประสิทธิภาพและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง สอดคล้องกับการจัดการธุรกิจเกษตรด้านอาหารที่ทันสมัยตามมาตรฐานที่กำหนดในประเทศและมาตรฐานสากล

 

 

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ http://academic.trf.or.th

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายวิชาการ สกว.

โทรศัพท์ : 0 2278 8251-9

Email : trfbasic@trf.or.th

ปรับปรุงข้อมูล : 20/11/2558 14:36:37     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 696

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ร่วมต้อนรับองคมนตรีและคณะ ในการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รักษาการแทนรองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ร่วมต้อนรับ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี และคณะ ในการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ณ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านโป่ง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ บรรยายสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาบ้านโปง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย นายธนวัฒน์ รอดขาว นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม พัฒนาอาชีพการปลูกดอกเบญจมาศและเก๊กฮวย รวมถึงการสนับสนุนการเรียนการสอน และงานบริการวิชาการให้แก่นักศึกษา เกษตรกรและประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพันธุ์ดี เช่น มะนาว ฝรั่ง กล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ และเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ การปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว  ปัจจุบันกิจกรรมในโครงการฯ มีดังนี้ 1. ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการปลูกดอกเบญจมาศและเก๊กฮวย รวมถึงงานบริการวิชาการให้แก่นักศึกษา เกษตรกร และประชาชนทั่วไป 2. เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพันธุ์ดี เช่น มะนาว ฝรั่ง กล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ 3. การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ การปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว
21 พฤศจิกายน 2567     |      12
โครงการปลูกต้นไม้และปล่อยกล้วยไม้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมโครงการปลูกต้นไม้และปล่อยกล้วยไม้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กิจกรรมในโครงการฯ ผู้เข้าร่วมได้ร่วมปลูกต้นรวงผึ้ง จำนวน 50 ต้นและปล่อยกล้วยไม้ จำนวน 100 ต้น  จัดโดย คณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมกับสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัย ณ บริเวณรอบอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทรา
6 พฤศจิกายน 2567     |      24