สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

วันที่ 15 มิถุนายน 2560 รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ข้ามสี่ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติประจำปี พ.ศ.2560 แก่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งมอบเกียรติบัตรแก่นักวิจัยผู้ได้รับรางวัล ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งหมดมีดังนี้

งาน EUROPEAN EXHIBITION OF CREATIVITY AND INNOVATIONE (U R O I N V E N T 2016) ณ Palas Mall เมือง IASI ประเทศโรมาเนีย
1. ผลงาน เรื่อง “อาหารเสริมน้ำตาลพรีไบโอติกจากหัวหอม” ( ALLI-FOS®, Prebiotic Sugar Supplement) โดย อาจารย์ ดร.ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย โขนงนุช คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- รางวัล “Gold Medal” จากงาน IX EUROINVENT ประเทศโรมาเนีย
- รางวัล “Special Award” จาก Association of Polish Inventors and Rationalizers จากประเทศโปแลนด์
- รางวัล "Honor of Invention" จาก World Invention Intellectual Property Associations ประเทศไต้หวัน

2.ผลงาน เรื่อง “ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมสำหรับไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวเพื่อการขยายพันธุ์พืชระดับอุตสาหกรรม”(Advanced Computerized-control System of Temporary Immersion Bioreactor for Industrial Plantlets Micropropagation) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พูนพัฒน์ พูนน้อย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรและ รองศาสตราจารย์ ดร.นพมณี โทปุญญานนท์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- รางวัล “Gold Medal” จากงาน IX EUROINVENT ประเทศโรมาเนีย
- รางวัล “IDRIS Gold Medal Award” จาก Malaysian Research& Innovation Society (MyRIS) ประเทศมาเลเชีย
- รางวัล “Special Award” จาก Toronto International Society of Innovation & Advanced Skills ประเทศแคนาดา
- รางวัล “The Politehnica Innovation Award” จาก University Politehnica of Bucharest ประเทศโรมาเนีย

3.ผลงาน เรื่อง “สารสกัดสาหร่ายกรีนคาเวียร์อินทรีย์สำหรับผลิตภัณฑ์เวชสำอางชะลอวัย" (Organic extract of green caviar for anti-aging cosmeceutical products) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีกรประมงและทรัพยากรทางน้ำ รองศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ , ดร.ลภัทรดา มุ่งหมาย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และคุณมณฑกานต์ ท้ามติ้น ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเพชรบุรี ร่วมกับ ผู้ประกอบการ คุณอิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ (ต๊อบ เถ้าแก่น้อย) บริษัท ดร.โทบิ จำกัด
- รางวัล “Gold Medal” จากงาน IX EUROINVENT ประเทศโรมาเนีย
- รางวัล “Special Award" จาก University of Craiova ประเทศโรมาเนีย
- รางวัล “Special Award” จาก Association of Polish Inventors and Rationalizers ประเทศโปแลนด์
- รางวัล “Special Award” จาก Malaysian Research & Innovation Society (MyRIS) ประเทศมาเลเซีย

งาน “Korea International Women’s Invention Exposition 2017 (KIWIE 2017)” ณ ประเทศเกาหลีใต้

1. ผลงานวิจัยเรื่อง “น้ำมันอะโวคาโดและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง” (Avocado Oil and cosmetic products) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฐิติพรรณ ฉิมสุข สังกัดคณะวิทยาศาสตร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ, อาจารย์เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์ สังกัด  คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 
- รางวัล "Bronze Award" จากงาน KIWIE 2017
- รางวัล “Special Award” จาก Indonesian Invention and Innovation Promotion Association (INNOPA) ประเทศอินโดนีเซีย

2. ผลงานวิจัยเรื่อง “เครื่องดื่มเพื่อความสดชื่นให้กับชีวิตด้วยพฤกษเคมี” (Super Phyto-Booster “Revitalizer Your Life) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา คงจรูญ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์
- รางวัล "Silver Award" จากงาน KIWIE 2017
- รางวัล “Gold Medal” จาก State office of industrial property of the Republic of Macedonia สาธารณรัฐมาเซโดเนีย

3. ผลงานวิจัยเรื่อง “บล็อกซีเมนต์ปอซโซลานนำแสงสำหรับงานโครงสร้าง” ( Light Conductor Pozolan Cement Block for Construction) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภรัตน์ นาคสิทธิพันธุ์ และ ดร.นิตยา ใจทนง สังกัดคณะวิทยาศาสตร์
- รางวัล "Gold Award" จากงาน KIWIE 2017
- รางวัล “The Germany Special Prize” จาก KIT-HAG-Invention Association Germany ประเทศเยอรมนี
- รางวัล "FIRI Award for the Best Invention" จาก The 1st Institute Inventors and Researcher in I.R. IRAN ประเทศอิหร่าน

4.ผลงานวิจัยเรื่อง "เครื่องสำอางน้ำหมักมะขาม" (Tamarind Hydrating Essense) โดย นางสาวทรรศมณฑ์ ช้างแก้ว บริษัท มะแอเฮอร์เบิล (ไทยแลนด์) จำกัด และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
- รางวัล "Gold Award" จากงาน KIWIE 2017
- รางวัล Special Award จาก KIT-HAG-Invention Association Germany ประเทศเยอรมนี
- รางวัล Special Award จาก State Office of Industrial Property of the Republic of Macedonia สาธารณรัฐมาเซโดเนีย

5.ผลงานวิจัยเรือง "นวัตกรรมสารสกัดบัวบกเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์เวชสำอางลดริ้วรอย" (Innovative Centella extract of cosmectical products for anti-aging) พิชญา เสียวครบุรี หจก. พณิชญา จำกัด และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
- รางวัล "Silver Award" จากงาน KIWIE 2017
- รางวัล “Tiia Outstanding Diploma Special Award For The Excellent Invention” จาก Taiwan lnvention & Innovation Industry Association (TIIIA) ประเทศไต้หวัน
- รางวัล "Special Prize" จาก Association Russian House for International Scientific and Technological ประเทศรัสเซีย

ปรับปรุงข้อมูล : 22/6/2560 11:30:23     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 668

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

สัมมนาทบทวนแผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ 2568
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "การทบทวนแผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2568"เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2568 ณ ห้องประชุม 304 สำนักวิจัยฯ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้นำองค์กรเปิดงานอย่างเป็นทางการ การสัมมนาครั้งสำคัญนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยผู้บริหารและบุคลากรสำนักวิจัยฯ เข้าร่วมอย่างครบครัน วัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาองค์กร สัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อทบทวนและปรับปรุงแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และวางแผนกลยุทธ์สำหรับการขับเคลื่อนภารกิจในอนาคต การมีส่วนร่วมของทีมงาน การจัดสัมมนาในรูปแบบเชิงปฏิบัติการเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิเคราะห์สถานการณ์ และร่วมกันหาแนวทางในการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเป้าหมายขององค์กร สถานที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การเลือกใช้ห้องประชุม 304 สำนักวิจัยฯ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เป็นสถานที่จัดงาน สะท้อนให้เห็นถึงความเหมาะสมและการเตรียมความพร้อมที่ดีสำหรับการจัดกิจกรรมประเภทนี้ โดยสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการระดมสมองและการทำงานเป็นทีม ก้าวสำคัญสู่การพัฒนายั่งยืน การทบทวนแผนปฏิบัติการประจำปีถือเป็นกระบวนการบริหารจัดการที่สำคัญ ที่จะช่วยให้สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรสามารถปรับตัวและพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศอย่างยั่งยืน สัมมนาครั้งนี้คาดว่าจะส่งผลให้เกิดแผนปฏิบัติการที่มีความชัดเจน เป็นรูปธรรม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อไป
30 มิถุนายน 2568     |      20
พิธีลงนามความร่วมมือกับ "ปลูกผักเพราะรักแม่" พัฒนาเกษตรอินทรีย์สู่อนาคต
ลงนามความร่วมมือกับ "ปลูกผักเพราะรักแม่" พัฒนาเกษตรอินทรีย์สู่อนาคตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ก้าวสำคัญสู่การพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน เมื่อจัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการด้านเกษตรอินทรีย์กับบริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2568 ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชั้น 5 สำนักงานมหาวิทยาลัยผู้นำระดับสูงร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามครั้งสำคัญนี้มี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี และกล่าวต้อนรับคุณชัดชาญ เอกชัยพัฒนกุล ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร พร้อมทีมงานจากบริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด (มหาชน) การจัดงานนี้ดำเนินการโดยสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์เป็นรูปธรรมศูนย์เกษตรอินทรีย์แม่โจ้ - ฐานการเรียนรู้ที่แข็งแกร่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทองเลียน บัวจูม ได้นำเสนอรายงานความเป็นมาของศูนย์เกษตรอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และแนวทางการร่วมมือทางวิชาการด้านเกษตรอินทรีย์กับบริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นการวางรากฐานสำคัญสำหรับความร่วมมือในอนาคตเป้าหมายการพัฒนาที่ครอบคลุมบันทึกความเข้าใจฉบับนี้มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือและเครือข่ายที่เข้มแข็งระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีเป้าหมายหลักในการบูรณาการขับเคลื่อนพัฒนางานด้านเกษตรอินทรีย์ให้ก้อหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ ความร่วมมือนี้จะส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในหลายมิติ ทั้งการเรียนการสอนด้านเกษตรอินทรีย์และการพัฒนาวัตถุดิบจากผลผลิตทางการเกษตรในระบบอินทรีย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับมาตรฐานการผลิตและคุณภาพผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของประเทศก้าวสำคัญสู่เกษตรกรรมยั่งยืนการลงนามความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในวงการเกษตรอินทรีย์ และเป็นการเชื่อมโยงความรู้ทางวิชาการกับประสบการณ์ในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและตอบสนองความต้องการของตลาดและผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ความร่วมมือนี้คาดว่าจะเป็นต้นแบบสำคัญสำหรับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในภาคเหนือ และช่วยยกระดับศักยภาพของเกษตรกรไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมั่นคง.
30 มิถุนายน 2568     |      11
การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัย เหนือ-ใต้ The 2nd NSU NET
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2568 ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ (ผศ.ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์) พร้อมด้วยผู้อำนวยการสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ (ผศ.ดร.ปรีดา นาเทเวศ) และ รองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติ (อ.ดร.วินิตรา ลีละพัฒนา) เข้าร่วมประชุม "เครือข่ายมหาวิทยาลัย เหนือ-ใต้" ครั้งที่ 2 (The 2nd NSU NET) ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (หาดใหญ่) ในงานมีการบรรยายพิเศษ "การอุดมศึกษาไทยกับบริบทโลก" โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รวมถึงการเสวนาในหัวข้อ "Growing Together: from reginal strengths to a sustainable global future" และ การประชุมกลุ่มย่อยเพื่อสร้างความร่วมมือกันในด้านวิจัย วิชาการ และ ความเป็นนานาชาติ ระหว่างกลุ่มมหาวิทยาลัยเครือข่าย 17 แห่งTRANSLATE with xEnglishArabicHebrewPolishBulgarianHindiPortugueseCatalanHmong DawRomanianChinese SimplifiedHungarianRussianChinese TraditionalIndonesianSlovakCzechItalianSlovenianDanishJapaneseSpanishDutchKlingonSwedishEnglishKoreanThaiEstonianLatvianTurkishFinnishLithuanianUkrainianFrenchMalayUrduGermanMalteseVietnameseGreekNorwegianWelshHaitian CreolePersianTRANSLATE with COPY THE URL BELOW BackEMBED THE SNIPPET BELOW IN YOUR SITEsetTimeout(function(){var s=document.createElement('script');s.type='text/javascript';s.charset='UTF-8';s.src=((location && location.href && location.href.indexOf('https') == 0)?'https://ssl.microsofttranslator.com':'http://www.microsofttranslator.com')+'/ajax/v3/WidgetV3.ashx?siteData=ueOIGRSKkd965FeEGM5JtQ**&ctf=true&ui=true&settings=manual&from=en';var p=document.getElementsByTagName('head')[0]||document.documentElement;p.insertBefore(s,p.firstChild); },0);" onclick="this.select()" />Enable collaborative features and customize widget: Bing Webmaster PortalBackORIGINAL: "; langMenu.appendChild(origLangDiv); LanguageMenu.Init('LanguageMenu', LanguageMenu_keys, LanguageMenu_values, LanguageMenu_callback, LanguageMenu_popupid); window["LanguageMenu"] = LanguageMenu; clearInterval(intervalId); } }, 1); >
23 มิถุนายน 2568     |      35
เสวนาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์งานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2568-2572
เมื่อวันที่ 16  มิถุนายน 2568 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดเสวนา เรื่อง “การจัดทำแผนยุทธศาสตร์งานวิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2568-2572” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธาน ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำเสนอร่าง แผนยุทธศาสตร์งานวิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2568-2572 เป้าหมาย และตัวชี้วัดสำคัญ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุบรรณ ฝอยกลาง  รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายวิจัย ผู้เข้าร่วมเสวนา วิพากษ์ ร่าง แผนยุทธศาสตร์งานวิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2568-2572 เป้าหมาย และตัวชี้วัดสำคัญ พร้อมกำหนดแผนงานวิจัย สำหรับงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (FF) ประจำปี พ.ศ. 2570  วัตถุประสงค์เพื่อร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์งานวิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2568-2572 และพัฒนาแผนงานวิจัยให้สอดคล้องกับนโยบาย เป้าหมายและทิศทางของมหาวิทยาลัย สำหรับการเสนอของบประมาณ เพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund: FF) และงบประมาณโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Development Fund: ST)
18 มิถุนายน 2568     |      33