สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

วันที่ 25 กรกฎาคม 2561 รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ข้ามสี่ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติประจำปี พ.ศ.2561 แก่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งมอบเกียรติบัตรแก่นักวิจัยผู้ได้รับรางวัล ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งหมดมีดังนี้

งาน XXI Moscow International Salon of Inventions and Innovation Technologies (ARCHIMEDES – 2018) ณ ประเทศรัสเซีย

1. ผลงานเรื่อง “FFC: Freshwater Fish Collagen for Anti-aging Cosmeceutic Facial Cream” (ครีมบำรุงผิวหน้าชะลอวัยจากคอลลาเจนปลาน้ำจืด โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ และคณะ
- Silver Medal จากงาน ARCHIMEDES 2018
- Special Prize จากสมาคม KIPA (Korea Invention Promotion Association) ประเทศเกาหลีใต้
- Official Certificate the Best Excellent of Honor จากสมาคมนวัตกรรมประเทศโรมาเนีย
- Special Prize Invetarium Science จากสมาคมนวัตกรรมประเทศโปรตุเกส

2. ผลงานเรื่อง “Innovative Feeds for Catfish Aquaculture Industry” (นวัตกรรมอาหารสำหรับอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลาหนัง) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
- Gold Medal จากงาน ARCHIMEDES 2018
- Special Prize : The Best Excellent of Hornor จากประเทศโรมาเนีย
- Special Award จาก Chinese Innovation & Invention Society (CIIS) ประเทศไต้หวัน

3. ผลงานเรื่อง “Plee NcapTM : Microencapsulate Tablet of Banana Blossom Extract for Maternal Breastfeeding” (พลีเอนแคป: เทคโนโลยีการห่อหุ้มสารสำคัญในปลีกล้วยสกัดอัดเม็ดระดับไมโครเมตรสำหรับมารดาให้นมบุตร) โดย อาจารย์กาญจนา นาคประสม คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร และคณะ
- Special Award on the Stage จากงาน ARCHIMEDES 2018
- Gold Medal จากงาน ARCHIMEDES 2018
- Excellency Award จากประเทศโรมาเนีย

งาน 10th European Exhibition of Creativity and Innovation (EUROINVENT- 2018) ณ ประเทศโรมาเนีย
1. ผลงานเรื่อง GARLICO : Innovative Garlic Extract from Non Chemical Process and Non-solvent Extraction (กาลิคโค : นวัตกรรมสารสกัดกระเทียมจากกระบวนการสกัดที่ไม่ใช้สารเคมีและตัวทำละลายอินทรีย์) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติพรรณ ฉิมสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะ
- Gold Medal จากงาน EUROINVENT 2018
- Europe Direct Iasi Award 2018 from Romania : EUROINVENT 2018
- Special Award of Invention from Indonesian Invention and Innovation Promotion Association (INNOPA) ประเทศอินโดนีเซีย
- Diploma of Excellence from University of Agronomic Sciences and Veterinary Medicine of Bucharest ประเทศโรมาเนีย
- Special Honour of Invention from International Invention Innovation Competition in Toronto ประเทศแคนาดา
- Gold Medal of Excellent Innovation Award from University Politehnica of Bucharest ประเทศโรมาเนีย

งาน Korea International Women’s Invention Exposition 2018 (KIWIE 2018) ณ ประเทศเกาหลีใต้
1. ผลงานเรื่อง Fah-Talai-Jone for Tablet Diabetes Mellitus and Immune Stimulation
(แอนโดร ฟ้าทะลายโจรอัดเม็ด : สารสกัดอินทรีย์ของฟ้าทะลายโจรและศักยภาพการพัฒนาเป็นยาสมุนไพรสำหรับโรคเบาหวานและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติพรรณ ฉิมสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะ
- Gold Prize จากงาน KIWIE 2018
- The Gold Medal and Certificate from Republic of Macedonia

2. ผลงานเรื่อง Fig Anti-Aging Serum (สารสกัดมะเดื่อชลอวัย “ฟื้นฟูสภาพผิว)
โดย อาจารย์ ดร. ยุวลี อันพาพรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะ
- Silver Prize จากงาน KIWIE 2018
- Special Award for the Excellent Investigation จาก Taiwan Invention & Innovation Industry Association

3. ผลงานเรื่อง Oil Absorption Carbon Fiber Sheets (แผ่นเส้นใยคาร์บอนดูดซับน้ำมัน) โดย อาจารย์ ดร.สุภาพร ดาวทอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะ
- Silver Prize จากงาน KIWIE 2018
- Diploma from Invertor's Club of Georgia

4. ผลงานเรื่อง Brain Sweets Gummy: Chew Your Happiness and Beauty (ผลิตภัณฑ์กัมมี่ผสมคอลลาเจนปลาน้ำจืด) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะ
- Silver Prize จากงาน KIWIE 2018

5. ผลงานเรื่อง Caulerpa Brightening Cream (คอเลอร์ปา ไบรเทนนิ่งครีม – ผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวหน้าให้กระจ่างใสจากสาหร่ายขนนก) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะ
- Gold Award จากงาน KIWIE 2018
- HAG Award: German Special Prize
- Special Award from Indonesian Invention and Innovation Promotion Association (INNOPA)

6. ผลงานเรื่อง New Dietary Supplement Products (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรใหม่จากสารสกัดคอร์เดซิฟิน) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติพรรณ ฉิมสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะ
- Silver Prize จากงาน KIWIE 2018
- The Best Invention from the Ist Institute Inventors and Researchers in I.R. Iran “FIRI AWARD”

ปรับปรุงข้อมูล : 25/7/2561 15:37:55     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 1092

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ร่วมต้อนรับองคมนตรีและคณะ ในการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รักษาการแทนรองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ร่วมต้อนรับ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี และคณะ ในการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ณ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านโป่ง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ บรรยายสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาบ้านโปง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย นายธนวัฒน์ รอดขาว นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม พัฒนาอาชีพการปลูกดอกเบญจมาศและเก๊กฮวย รวมถึงการสนับสนุนการเรียนการสอน และงานบริการวิชาการให้แก่นักศึกษา เกษตรกรและประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพันธุ์ดี เช่น มะนาว ฝรั่ง กล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ และเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ การปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว  ปัจจุบันกิจกรรมในโครงการฯ มีดังนี้ 1. ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการปลูกดอกเบญจมาศและเก๊กฮวย รวมถึงงานบริการวิชาการให้แก่นักศึกษา เกษตรกร และประชาชนทั่วไป 2. เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพันธุ์ดี เช่น มะนาว ฝรั่ง กล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ 3. การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ การปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว
21 พฤศจิกายน 2567     |      12
โครงการปลูกต้นไม้และปล่อยกล้วยไม้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมโครงการปลูกต้นไม้และปล่อยกล้วยไม้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กิจกรรมในโครงการฯ ผู้เข้าร่วมได้ร่วมปลูกต้นรวงผึ้ง จำนวน 50 ต้นและปล่อยกล้วยไม้ จำนวน 100 ต้น  จัดโดย คณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมกับสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัย ณ บริเวณรอบอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทรา
6 พฤศจิกายน 2567     |      24