สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

วันที่ 9 กันยายน 2564 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โครงการวิจัยเชิงพัฒนาเพื่อส่งเสริมการปลูกพืชกัญชงเชิงพาณิชย์ครบวงจร ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ (ผ่านระบบออนไลน์) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธีการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริการวิชาการ เป็นตัวแทนฝ่ายมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คุณการัณย์ ศุภกิจวิเลขการ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ กล่าวถึงวัตถุประสงค์และความร่วมมือ นายจำเริญ ยุติธรรมสกุล รองผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ นายณัฏฐพล จิระสกุลไทย ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการพัฒนา สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ เป็นตัวแทนฝ่าย สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก พล.ต.ต ภาณุเดช บุญเรือง ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมและพัฒนา กิจกรรมปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ ในการร่วมพิธีดังกล่าว ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และสถาบัน ตกลงร่วมมือกันศึกษา วิจัย เชิงพัฒนาโครงการวิจัยเพื่อส่งเสริม การปลูกพืชกัญชงเชิงพาณิชย์ครบวงจร โดยมีวัตถุประสงค์ในการร่วมมือ ดังนี้
1.เพื่อศึกษาวิจัยเชิงพัฒนาการส่งเสริมการปลูกพืชกัญชงเชิงพาณิชย์ครบวงจรด้วยเทคโนโลยี 5G สำหรับการบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะในพื้นที่บ้านโคกล่าม บ้านแสงอร่าม ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี หรือพื้นที่อื่น ๆ ตามที่ได้ตกลงกันในอนาคต ด้วยรูปแบบของการวิจัยเชิงพัฒนา
2.เพื่อศึกษาต้นแบบการปลูกพืชมูลค่าสูง “กัญชง” (กระบวนการต้นน้ำ) จากการนำร่องเกษตรดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี 5G
3. เพื่อศึกษาการคัดเลือกสายพันธุ์พืชกัญชงที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และภูมิอากาศ ใน จ.อุดรธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่แตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย
4.เพื่อศึกษารูปแบบการลงทุนและผลตอบแทนการลงทุนของโครงการ สำหรับการเป็นต้นแบบในการขยายผลพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสม

 

ปรับปรุงข้อมูล : 13/9/2564 13:31:48     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 561

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ร่วมต้อนรับองคมนตรีและคณะ ในการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รักษาการแทนรองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ร่วมต้อนรับ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี และคณะ ในการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ณ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านโป่ง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ บรรยายสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาบ้านโปง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย นายธนวัฒน์ รอดขาว นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม พัฒนาอาชีพการปลูกดอกเบญจมาศและเก๊กฮวย รวมถึงการสนับสนุนการเรียนการสอน และงานบริการวิชาการให้แก่นักศึกษา เกษตรกรและประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพันธุ์ดี เช่น มะนาว ฝรั่ง กล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ และเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ การปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว  ปัจจุบันกิจกรรมในโครงการฯ มีดังนี้ 1. ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการปลูกดอกเบญจมาศและเก๊กฮวย รวมถึงงานบริการวิชาการให้แก่นักศึกษา เกษตรกร และประชาชนทั่วไป 2. เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพันธุ์ดี เช่น มะนาว ฝรั่ง กล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ 3. การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ การปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว
21 พฤศจิกายน 2567     |      12
โครงการปลูกต้นไม้และปล่อยกล้วยไม้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมโครงการปลูกต้นไม้และปล่อยกล้วยไม้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กิจกรรมในโครงการฯ ผู้เข้าร่วมได้ร่วมปลูกต้นรวงผึ้ง จำนวน 50 ต้นและปล่อยกล้วยไม้ จำนวน 100 ต้น  จัดโดย คณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมกับสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัย ณ บริเวณรอบอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทรา
6 พฤศจิกายน 2567     |      24