สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

วันที่ 15 มิถุนายน 2560 รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ข้ามสี่ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติประจำปี พ.ศ.2560 แก่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งมอบเกียรติบัตรแก่นักวิจัยผู้ได้รับรางวัล ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งหมดมีดังนี้

งาน EUROPEAN EXHIBITION OF CREATIVITY AND INNOVATIONE (U R O I N V E N T 2016) ณ Palas Mall เมือง IASI ประเทศโรมาเนีย
1. ผลงาน เรื่อง “อาหารเสริมน้ำตาลพรีไบโอติกจากหัวหอม” ( ALLI-FOS®, Prebiotic Sugar Supplement) โดย อาจารย์ ดร.ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย โขนงนุช คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- รางวัล “Gold Medal” จากงาน IX EUROINVENT ประเทศโรมาเนีย
- รางวัล “Special Award” จาก Association of Polish Inventors and Rationalizers จากประเทศโปแลนด์
- รางวัล "Honor of Invention" จาก World Invention Intellectual Property Associations ประเทศไต้หวัน

2.ผลงาน เรื่อง “ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมสำหรับไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวเพื่อการขยายพันธุ์พืชระดับอุตสาหกรรม”(Advanced Computerized-control System of Temporary Immersion Bioreactor for Industrial Plantlets Micropropagation) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พูนพัฒน์ พูนน้อย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรและ รองศาสตราจารย์ ดร.นพมณี โทปุญญานนท์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- รางวัล “Gold Medal” จากงาน IX EUROINVENT ประเทศโรมาเนีย
- รางวัล “IDRIS Gold Medal Award” จาก Malaysian Research& Innovation Society (MyRIS) ประเทศมาเลเชีย
- รางวัล “Special Award” จาก Toronto International Society of Innovation & Advanced Skills ประเทศแคนาดา
- รางวัล “The Politehnica Innovation Award” จาก University Politehnica of Bucharest ประเทศโรมาเนีย

3.ผลงาน เรื่อง “สารสกัดสาหร่ายกรีนคาเวียร์อินทรีย์สำหรับผลิตภัณฑ์เวชสำอางชะลอวัย" (Organic extract of green caviar for anti-aging cosmeceutical products) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีกรประมงและทรัพยากรทางน้ำ รองศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ , ดร.ลภัทรดา มุ่งหมาย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และคุณมณฑกานต์ ท้ามติ้น ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเพชรบุรี ร่วมกับ ผู้ประกอบการ คุณอิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ (ต๊อบ เถ้าแก่น้อย) บริษัท ดร.โทบิ จำกัด
- รางวัล “Gold Medal” จากงาน IX EUROINVENT ประเทศโรมาเนีย
- รางวัล “Special Award" จาก University of Craiova ประเทศโรมาเนีย
- รางวัล “Special Award” จาก Association of Polish Inventors and Rationalizers ประเทศโปแลนด์
- รางวัล “Special Award” จาก Malaysian Research & Innovation Society (MyRIS) ประเทศมาเลเซีย

งาน “Korea International Women’s Invention Exposition 2017 (KIWIE 2017)” ณ ประเทศเกาหลีใต้

1. ผลงานวิจัยเรื่อง “น้ำมันอะโวคาโดและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง” (Avocado Oil and cosmetic products) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฐิติพรรณ ฉิมสุข สังกัดคณะวิทยาศาสตร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ, อาจารย์เยาวนาถ นรินทร์สรศักดิ์ สังกัด  คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 
- รางวัล "Bronze Award" จากงาน KIWIE 2017
- รางวัล “Special Award” จาก Indonesian Invention and Innovation Promotion Association (INNOPA) ประเทศอินโดนีเซีย

2. ผลงานวิจัยเรื่อง “เครื่องดื่มเพื่อความสดชื่นให้กับชีวิตด้วยพฤกษเคมี” (Super Phyto-Booster “Revitalizer Your Life) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา คงจรูญ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์
- รางวัล "Silver Award" จากงาน KIWIE 2017
- รางวัล “Gold Medal” จาก State office of industrial property of the Republic of Macedonia สาธารณรัฐมาเซโดเนีย

3. ผลงานวิจัยเรื่อง “บล็อกซีเมนต์ปอซโซลานนำแสงสำหรับงานโครงสร้าง” ( Light Conductor Pozolan Cement Block for Construction) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภรัตน์ นาคสิทธิพันธุ์ และ ดร.นิตยา ใจทนง สังกัดคณะวิทยาศาสตร์
- รางวัล "Gold Award" จากงาน KIWIE 2017
- รางวัล “The Germany Special Prize” จาก KIT-HAG-Invention Association Germany ประเทศเยอรมนี
- รางวัล "FIRI Award for the Best Invention" จาก The 1st Institute Inventors and Researcher in I.R. IRAN ประเทศอิหร่าน

4.ผลงานวิจัยเรื่อง "เครื่องสำอางน้ำหมักมะขาม" (Tamarind Hydrating Essense) โดย นางสาวทรรศมณฑ์ ช้างแก้ว บริษัท มะแอเฮอร์เบิล (ไทยแลนด์) จำกัด และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
- รางวัล "Gold Award" จากงาน KIWIE 2017
- รางวัล Special Award จาก KIT-HAG-Invention Association Germany ประเทศเยอรมนี
- รางวัล Special Award จาก State Office of Industrial Property of the Republic of Macedonia สาธารณรัฐมาเซโดเนีย

5.ผลงานวิจัยเรือง "นวัตกรรมสารสกัดบัวบกเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์เวชสำอางลดริ้วรอย" (Innovative Centella extract of cosmectical products for anti-aging) พิชญา เสียวครบุรี หจก. พณิชญา จำกัด และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
- รางวัล "Silver Award" จากงาน KIWIE 2017
- รางวัล “Tiia Outstanding Diploma Special Award For The Excellent Invention” จาก Taiwan lnvention & Innovation Industry Association (TIIIA) ประเทศไต้หวัน
- รางวัล "Special Prize" จาก Association Russian House for International Scientific and Technological ประเทศรัสเซีย

ปรับปรุงข้อมูล : 22/6/2560 11:30:23     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 604

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

บรรยายให้ความรู้คณะศึกษาดูงานจากเทศบาลตำบลพนมทวน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
วันที่ 4 เมษายน 2567 เวลา 13.30-16.30 น. สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร โดย ว่าที่ร้อยตรี สมบูรณ์ ระดม ผู้จัดการศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้คณะศึกษาดูงานจากเทศบาลตำบลพนมทวน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 76 คน ถ่ายทอดความรู้หลักสูตร “การทำเกษตรแบบธรรมชาติ ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง” โดยการนำวัสถุท้องถิ่นมาใช้ในการทำการเกษตร เน้นการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้กระบวนการผลิต การปลูกพืชผัก การเลี้ยงสัตว์ และการดูแลสิ่งแวดล้อม เยี่ยมชมฟาร์มหมูหลุมและไก่ไข่อารมณ์ดี พร้อมน้อมนำแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในฟาร์ม ณ ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
26 เมษายน 2567     |      13
ต้อนรับคณะศึกษาดูงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา (รุ่นที่ 3)
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร โดย นายนิคม สุทธา นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้คณะศึกษาดูงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา (รุ่นที่ 3) พร้อมถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 และ อาจารย์ ดร.แสนวสันต์ ยอดคำ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร บรรยายให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง การทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
26 เมษายน 2567     |      16
เสวนาเพื่อพัฒนาข้อเสนอการวิจัยเพื่อจัดส่งหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา บพค.
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2567 สำนักวิจัยฯ จัดการเสวนาเพื่อพัฒนาข้อเสนอการวิจัยเพื่อจัดส่งหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา กำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ เป็นประธานเปิดงาน ซึ่งภายในงานมีการเสวนา พัฒนาโจทย์วิจัย ภายใต้กรอบการพัฒนา หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนา กำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม เป็นวิทยากร ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
26 เมษายน 2567     |      17
โครงการเสวนาความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณแผนงานและโครงการ ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน ของนักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 สำนักวิจัยฯ จัดโครงการเสวนาความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณแผนงานและโครงการ ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน ของนักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งในโครงการ มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ในการเสวนาความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณแผนงานและโครงการ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อรทัย มิ่งธิพล รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายวิจัย การรายงานผลการดำเนินงานผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบของแผนงานและโครงการสนับสนุนงานมูลฐาน ต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) โดย นายสมยศ มีสุข หัวหน้างานบริหารและส่งเสริมการวิจัย นางจิรนันท์ เสนานาญ รักษาการแทนผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย และนายภาณุลักษณ์ ศรีรินทร์ หัวหน้างานสารสนเทศและเผยแพร่งานวิจัย ร่วมหารือความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของแผนงาน/โครงการ และแนวทางแก้ไข ณ ห้องประชุม 301 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
26 เมษายน 2567     |      7