สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และบริษัท ทีเอ็นอาร์ ไบโอไซเอินซ์ จำกัด ร่วมกิจกรรมการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่อดอกกกัญชง ณ จังหวัดอุดรธานี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นายเสกสรร สงจันทึก นักวิชาการเกษตร นางสาววัชรินทร์ จันทวรรณ์ นักวิจัย และทีมนักวิจัย งานปรับปรุงและขยายพันธุ์กรรมพืชและสัตว์ กองบริหารงานบริการวิชาการ สำนักวิจัยฯ ร่วมกิจกรรมการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่อดอกกกัญชง ของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 6 - 9 มีนาคม พ.ศ. 2566

วันอังคารที่ 7 มีนาคม 2566 ร่วมกิจกรรมการสาธิตและขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่อดอกกัญชงให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกกัญชง ภายใต้โครงการวิจัยเชิงพัฒนาเพื่อส่งเสริมการปลูกพืชกัญชงเชิงพาณิชย์ครบวงจร จังหวัดอุดรธานี ของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ โดยสาธิตเทคนิคการตัดช่อดอกกัญชงในแปลงปลูกและวิธีการในการรูดช่อดอกกัญชง ก่อนการลดความชื้นด้วยการอบแห้ง โดยมี พลตำรวจตรีภานุเดช บุญเรือง ผู้อำนวยการโครงการวิจัยเชิงพัฒนาเพื่อส่งเสริมการปลูกพืชกัญชงเชิงพาณิชย์ครบวงจร และที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ ฯ และนายนพวัชร สิงห์ศักดา ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ ฯ ให้การต้อนรับและร่วมกิจกรรมดังกล่าว อีกทั้งยังมีการเชื่อมโยงขยายผลงานวิจัยความร่วมมือระหว่างบริษัท ทีเอ็นอาร์ ไบโอไซเอินซ์ จำกัด นำโดยคุณทศพล นิลกำแหง นายกสมาคมสหอุตสาหกรรมพืชกัญชงและกัญชา และผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค บริษัท ไทยนิปปอนรับเบอร์อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) และเจ้าหน้าที่บริษัทฯ สนับสนุนขยายผลงานวิจัยสู่เกษตรกรผู้ปลูกกัญชง และบริษัท ฯ ได้มีการรับซื้อผลผลิตช่อดอกกัญชงอบแห้งของเกษตรกรภายใต้สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ

วันพุธที่ 8-9 มีนาคม 2566 ทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วางแผนดำเนินงานเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตช่อดอกกัญชงและการรูดช่อดอกกัญชง จำนวน 909 ต้น เพื่อให้สามารถขนส่งช่อดอกกัญชงจากจังหวัดอุดรธานี ไปยังศูนย์ทดสอบ วิจัย และพัฒนากัญชง มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ปรับปรุงข้อมูล : 20/3/2566 15:50:12     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 1171

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ร่วมต้อนรับองคมนตรีและคณะ ในการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รักษาการแทนรองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ร่วมต้อนรับ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี และคณะ ในการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ณ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านโป่ง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ บรรยายสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาบ้านโปง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย นายธนวัฒน์ รอดขาว นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม พัฒนาอาชีพการปลูกดอกเบญจมาศและเก๊กฮวย รวมถึงการสนับสนุนการเรียนการสอน และงานบริการวิชาการให้แก่นักศึกษา เกษตรกรและประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพันธุ์ดี เช่น มะนาว ฝรั่ง กล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ และเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ การปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว  ปัจจุบันกิจกรรมในโครงการฯ มีดังนี้ 1. ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการปลูกดอกเบญจมาศและเก๊กฮวย รวมถึงงานบริการวิชาการให้แก่นักศึกษา เกษตรกร และประชาชนทั่วไป 2. เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพันธุ์ดี เช่น มะนาว ฝรั่ง กล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ 3. การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ การปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว
21 พฤศจิกายน 2567     |      11
โครงการปลูกต้นไม้และปล่อยกล้วยไม้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมโครงการปลูกต้นไม้และปล่อยกล้วยไม้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กิจกรรมในโครงการฯ ผู้เข้าร่วมได้ร่วมปลูกต้นรวงผึ้ง จำนวน 50 ต้นและปล่อยกล้วยไม้ จำนวน 100 ต้น  จัดโดย คณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมกับสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัย ณ บริเวณรอบอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทรา
6 พฤศจิกายน 2567     |      24