สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566 สำนักวิจัยฯ จัดกิจกรรม Big Cleaning day ประจำปี 2566 ร่วมกับหน่วยงานภายในอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ทั้งหมด 5 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร, สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์, สถาบันรับรองระบบการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร, หลักสูตรวิทยาการสมุนไพร คณะผลิตกรรมการเกษตร, หน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริการวิชาการ เป็นประธาน ซึ่งภายในงานมีกิจกรรมทำความสะอาด ภายในและภายนอกอาคาร กิจกรรมการจัดการขยะภายในสำนักงาน ตามหลัก 3Rs การแข่งขันนำกระดาษที่ใช้แล้ว มาเก็บข้อมูลปริมาณการย่อยกระดาษ/กระดาษรีไซเคิล และการปิดไฟและ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน 2 ชั่วโมง จัดขึ้น ณ บริเวณโถง ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

รับชมทางช่อง Youtube สำนักวิจัยฯ คลิ๊กที่นี่

ปรับปรุงข้อมูล : 18/7/2566 16:09:20     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 222

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์ Green Office & University

ข่าวล่าสุด

สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการเสวนา "การนำเสนอผลงาน นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการดำเนินงานของหน่วยวิจัย ศูนย์ความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี พ.ศ.2566
วันที่ 27 กันยายน 2566 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการเสวนา "การนำเสนอผลงาน นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการดำเนินงานของหน่วยวิจัย ศูนย์ความเป็นเลิศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี พ.ศ.2566 ในรูปแบบออนไลน์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธาน ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งภายในงานมีการนำเสนอผลการดำเนินงาน 10 ศูนย์/หน่วยวิจัย ได้แก่ 1.ผลการดำเนินงานของหน่วยวัสดุผสมและการสร้างต้นแบบโดยใช้การพิมพ์ลายสามมิติ 2.ผลการดำเนินงานของศูนย์วิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางฟิสิกส์ 3.ผลการดำเนินงานของศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 4.ผลการดำเนินงานของศูนย์วิจัยด้านวิชาการเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร 5.ผลการดำเนินงานของศูนย์นวัตกรรมการเกษตรและสิ่งแวดล้อม 6.ผลการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางการเกษตรสำหรับบัณฑิตผู้ประกอบการ 7.ผลการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศทางการประมงและทรัพยากรทางน้ำ 8.ผลการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมพลังงาน สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติหมอกควัน 9.ผลการดำเนินงานของศูนย์ความเปิดเลิศด้านสังคมปลาบึก 10.ผลการดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่
27 กันยายน 2566     |      18
พิธีมอบเกียรติบัตรให้แก่นักวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ได้สร้างชื่อเสียงในระดับชาติและนานาชาติ
วันที่ 27 กันยายน 2566 สำนักวิจัยฯ จัดพิธีมอบเกียรติบัตรให้แก่นักวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ได้สร้างชื่อเสียงในระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งในปีดังกล่าวมีนักวิจัยที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ จำนวน 11 ผลงาน และนักวิจัยที่ได้รับรางวัลในระดับชาติ 10 รางวัล  โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มอบเกียรติบัตรแก่นักวิจัย ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้
27 กันยายน 2566     |      134
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ร่วมหารือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการสร้างการเกษตรให้มีมูลค่าสูง สู่การเกษตร BCG สาขายุทธศาสตร์ภายใต้ BCG
วันที่ 5 กันยายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ร่วมหารือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมทีมงาน นายธนรักษ์ พงเพตรา รองประธาน ประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร นายไพฑูรย์ ศิริฉัตรชัยสกุล รองประธาน ประธานสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่ออุตสาหกรรม นายวิบูลย์ รักสาสน์เจริญผล เลขานุการ innovation one นายวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง รองประธานอุตสาหกรรมเชียงใหม่ สร้างการเกษตรให้มีมูลค่าสูง สู่การเกษตร BCG สาขายุทธศาสตร์ภายใต้ BCG ที่แม่โจ้สามารถร่วมได้ ได้แก่ 1) สาขาเกษตรและอาหาร มุ่งสู่การผลิตสินค้าเกษตรและอาหารจากการผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย ไปสู่การผลิตสินค้าที่เป็นพรีเมี่ยมที่ผลิตน้อยแต่สร้างรายได้สูง รวมถึงการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าเกษตรเศรษฐกิจ 2) สาขาสุขภาพและการแพทย์ มุ่งเน้นการสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ทางด้านการผลิตยาและชีวเภสัชภัณฑ์ 3) สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ มุ่งเน้นการเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานและการต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์เคมีและวัสดุชีวภาพมูลค่าสูง ด้วยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด 4) สาขาการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มุ่งพัฒนาสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนด้วยการใช้จุดแข็งของพื้นที่มาสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง ควบคู่กับการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงในการรองรับนักท่องเที่ยว ฟื้นฟูและป้องกันปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่เน้นการค้นหารากเหง้าทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเนื้อหาอัตลักษณ์เชิงพื้นที่มาต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการให้มีมูลค่าที่สูงขึ้น เพื่อสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึงด้วยการเชื่อมโยงและมุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถของระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) เน้นการพัฒนาระบบการเกษตรปลอดภัย มีมูลค่าสูง ส่งเสริมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และต่อยอดเศรษฐกิจด้วยทุนทางวัฒนธรรมล้านนา (Creative Lanna) เทคโนโลยีและองค์ความรู้ขั้นแนวหน้า เป็นแรงขับเคลื่อนที่มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จและการสร้างรากฐานที่มั่นคงและยั่งยืนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่สำคัญ อาทิ 1. Complex Microbiota กับสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และพืช เนื่องจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่ซับซ้อนที่อาศัยอยู่ในร่างกายหรือผิวหนังมนุษย์และสัตว์มีส่วนสำคัญในการกำหนดสุขภาพที่ดี 2) เทคโนโลยีโอมิกส์ (OMICs) สร้างความรู้สำคัญที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดทั้งในด้านการเกษตร การแพทย์ และอุตสาหกรรมชีวภาพ 3) วิศวกรรมกระบวนการทางชีวภาพ (Bioprocess Engineering) เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาต่อยอดชีวมวล 4) Gene Editing และ Synthetic Biology เพื่อปรับเปลี่ยนพันธุกรรมหรือสร้างสิ่งมีชีวิตให้มีลักษณะตามต้องการ โดยเฉพาะจุลินทรีย์สำหรับอุตสาหกรรมและในเซลล์เพื่อการผลิตยาชีววัตถุ 5) เทคโนโลยีการผลิตแบบคาร์บอนต่ำ สำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว 6) เทคโนโลยีประมวลความเร็วสูงด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่ รองรับการทำงานของระบบปัญญาประดิษฐ์ขั้น Deep Learning สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี เกษตรอาหาร สุขภาพและการแพทย์ที่มีความแม่นยำสูง 7) เทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มขั้นสูง ทางการเกษตร
6 กันยายน 2566     |      1155