สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

วันที่ 5 กันยายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ร่วมหารือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมทีมงาน นายธนรักษ์ พงเพตรา รองประธาน ประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร นายไพฑูรย์ ศิริฉัตรชัยสกุล รองประธาน ประธานสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่ออุตสาหกรรม นายวิบูลย์ รักสาสน์เจริญผล เลขานุการ innovation one นายวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง รองประธานอุตสาหกรรมเชียงใหม่ สร้างการเกษตรให้มีมูลค่าสูง สู่การเกษตร BCG สาขายุทธศาสตร์ภายใต้ BCG ที่แม่โจ้สามารถร่วมได้ ได้แก่
1) สาขาเกษตรและอาหาร มุ่งสู่การผลิตสินค้าเกษตรและอาหารจากการผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย ไปสู่การผลิตสินค้าที่เป็นพรีเมี่ยมที่ผลิตน้อยแต่สร้างรายได้สูง รวมถึงการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าเกษตรเศรษฐกิจ
2) สาขาสุขภาพและการแพทย์ มุ่งเน้นการสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ทางด้านการผลิตยาและชีวเภสัชภัณฑ์
3) สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ มุ่งเน้นการเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานและการต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์เคมีและวัสดุชีวภาพมูลค่าสูง ด้วยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
4) สาขาการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มุ่งพัฒนาสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนด้วยการใช้จุดแข็งของพื้นที่มาสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง ควบคู่กับการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงในการรองรับนักท่องเที่ยว ฟื้นฟูและป้องกันปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่เน้นการค้นหารากเหง้าทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเนื้อหาอัตลักษณ์เชิงพื้นที่มาต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการให้มีมูลค่าที่สูงขึ้น
เพื่อสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึงด้วยการเชื่อมโยงและมุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถของระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) เน้นการพัฒนาระบบการเกษตรปลอดภัย มีมูลค่าสูง ส่งเสริมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และต่อยอดเศรษฐกิจด้วยทุนทางวัฒนธรรมล้านนา (Creative Lanna)
เทคโนโลยีและองค์ความรู้ขั้นแนวหน้า เป็นแรงขับเคลื่อนที่มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จและการสร้างรากฐานที่มั่นคงและยั่งยืนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่สำคัญ อาทิ
1. Complex Microbiota กับสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และพืช เนื่องจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่ซับซ้อนที่อาศัยอยู่ในร่างกายหรือผิวหนังมนุษย์และสัตว์มีส่วนสำคัญในการกำหนดสุขภาพที่ดี
2) เทคโนโลยีโอมิกส์ (OMICs) สร้างความรู้สำคัญที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดทั้งในด้านการเกษตร การแพทย์ และอุตสาหกรรมชีวภาพ
3) วิศวกรรมกระบวนการทางชีวภาพ (Bioprocess Engineering) เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาต่อยอดชีวมวล
4) Gene Editing และ Synthetic Biology เพื่อปรับเปลี่ยนพันธุกรรมหรือสร้างสิ่งมีชีวิตให้มีลักษณะตามต้องการ โดยเฉพาะจุลินทรีย์สำหรับอุตสาหกรรมและในเซลล์เพื่อการผลิตยาชีววัตถุ
5) เทคโนโลยีการผลิตแบบคาร์บอนต่ำ สำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว
6) เทคโนโลยีประมวลความเร็วสูงด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่ รองรับการทำงานของระบบปัญญาประดิษฐ์ขั้น Deep Learning สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี เกษตรอาหาร สุขภาพและการแพทย์ที่มีความแม่นยำสูง
7) เทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มขั้นสูง ทางการเกษตร

ปรับปรุงข้อมูล : 6/9/2566 9:29:42     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 31295

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ร่วมสืบสานประเพณี "ดำหัว" ผู้อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2568
เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและบุคลากร ร่วมพิธี "ดำหัว" อาวุโสและอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2568 อย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พิธี "ดำหัว" ถือเป็นประเพณีอันงดงามที่ชาวล้านนาสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เป็นการแสดงความเคารพ นอบน้อม และขอพรจากผู้อาวุโสในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งบรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความอบอุ่นและความเคารพรักที่บุคลากรสำนักวิจัยฯ มีต่อผู้บริหารและคณาจารย์อาวุโสของมหาวิทยาลัย นอกจากการร่วมสืบสานประเพณีอันดีงามแล้ว สำนักวิจัยฯ ยังได้ส่งบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์และส่งเสริมวัฒนธรรมล้านนาในงานเดียวกันนี้ โดยมีการส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันประกวดลาบ เครื่องดื่มพื้นเมืองล้านนา และส้มตำลีลา ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความร่วมมือร่วมใจและความสามารถของบุคลากรในหลากหลายด้าน การเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรภายในสำนักวิจัยฯ และระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อีกด้วย นับเป็นอีกหนึ่งภาพความประทับใจที่แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งและความสามัคคีของประชาคมมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่พร้อมจะก้าวหน้าไปพร้อมกับการรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์และวัฒนธรรมอันเป็นรากฐานที่สำคัญ
29 เมษายน 2568     |      37
ดำหัวปีใหม่ผู้อาวุโสสำนักวิจัยฯ ประจำปี 2568
เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการดำหัวปีใหม่ผู้อาวุโสสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร เนื่องในเทศกาลปี๋ใหม่เมือง ประจำปี 2568 นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ผู้บริหาร และบุคลากรสำนักวิจัยฯ ร่วมกันตกแต่งของดำหัวผู้อาวุโส สรงน้ำพระพุทธรูปตามประเพณี และพิธีดำหัวผู้อาวุโสของสำนักวิจัยฯ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบสานประเพณี และวัฒนธรรมไทยอันดีงานให้สืบไป ณ แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
22 เมษายน 2568     |      46
โครงการอนุรักษ์ศิลปะทางวัฒนธรรม"การจัดห้องประชุม และการจัดอาหารว่างในการประชุม เพื่อลดปริมาณขยะ"
เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2568 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการอนุรักษ์ศิลปะทางวัฒนธรรม หัวข้อ "การจัดห้องประชุม และการจัดอาหารว่างในการประชุม เพื่อลดปริมาณขยะ" โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ เป็นประธานเปิดโครงการฯ  วิทยากร โดย นายณัฐวุฒิ เครือฟู เพื่อให้บุคลากร และผู้สนใจได้เห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ศิลปะทางวัฒนธรรม และสามารถนำความรู้ทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน สำหรับโครงการนี้ กิจกรรมภายในโครงการเป็นส่วนสำคัญในการลดปริมาณขยะเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตามหลักของสำนักงานสีเขียว โดยจัดขึ้น ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
22 เมษายน 2568     |      36