สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

วันที่ 5 กันยายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ร่วมหารือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมทีมงาน นายธนรักษ์ พงเพตรา รองประธาน ประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร นายไพฑูรย์ ศิริฉัตรชัยสกุล รองประธาน ประธานสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่ออุตสาหกรรม นายวิบูลย์ รักสาสน์เจริญผล เลขานุการ innovation one นายวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง รองประธานอุตสาหกรรมเชียงใหม่ สร้างการเกษตรให้มีมูลค่าสูง สู่การเกษตร BCG สาขายุทธศาสตร์ภายใต้ BCG ที่แม่โจ้สามารถร่วมได้ ได้แก่
1) สาขาเกษตรและอาหาร มุ่งสู่การผลิตสินค้าเกษตรและอาหารจากการผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย ไปสู่การผลิตสินค้าที่เป็นพรีเมี่ยมที่ผลิตน้อยแต่สร้างรายได้สูง รวมถึงการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าเกษตรเศรษฐกิจ
2) สาขาสุขภาพและการแพทย์ มุ่งเน้นการสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ทางด้านการผลิตยาและชีวเภสัชภัณฑ์
3) สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ มุ่งเน้นการเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานและการต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์เคมีและวัสดุชีวภาพมูลค่าสูง ด้วยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
4) สาขาการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มุ่งพัฒนาสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนด้วยการใช้จุดแข็งของพื้นที่มาสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง ควบคู่กับการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงในการรองรับนักท่องเที่ยว ฟื้นฟูและป้องกันปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่เน้นการค้นหารากเหง้าทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเนื้อหาอัตลักษณ์เชิงพื้นที่มาต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการให้มีมูลค่าที่สูงขึ้น
เพื่อสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึงด้วยการเชื่อมโยงและมุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถของระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) เน้นการพัฒนาระบบการเกษตรปลอดภัย มีมูลค่าสูง ส่งเสริมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และต่อยอดเศรษฐกิจด้วยทุนทางวัฒนธรรมล้านนา (Creative Lanna)
เทคโนโลยีและองค์ความรู้ขั้นแนวหน้า เป็นแรงขับเคลื่อนที่มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จและการสร้างรากฐานที่มั่นคงและยั่งยืนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่สำคัญ อาทิ
1. Complex Microbiota กับสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และพืช เนื่องจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่ซับซ้อนที่อาศัยอยู่ในร่างกายหรือผิวหนังมนุษย์และสัตว์มีส่วนสำคัญในการกำหนดสุขภาพที่ดี
2) เทคโนโลยีโอมิกส์ (OMICs) สร้างความรู้สำคัญที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดทั้งในด้านการเกษตร การแพทย์ และอุตสาหกรรมชีวภาพ
3) วิศวกรรมกระบวนการทางชีวภาพ (Bioprocess Engineering) เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาต่อยอดชีวมวล
4) Gene Editing และ Synthetic Biology เพื่อปรับเปลี่ยนพันธุกรรมหรือสร้างสิ่งมีชีวิตให้มีลักษณะตามต้องการ โดยเฉพาะจุลินทรีย์สำหรับอุตสาหกรรมและในเซลล์เพื่อการผลิตยาชีววัตถุ
5) เทคโนโลยีการผลิตแบบคาร์บอนต่ำ สำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว
6) เทคโนโลยีประมวลความเร็วสูงด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่ รองรับการทำงานของระบบปัญญาประดิษฐ์ขั้น Deep Learning สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี เกษตรอาหาร สุขภาพและการแพทย์ที่มีความแม่นยำสูง
7) เทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มขั้นสูง ทางการเกษตร

ปรับปรุงข้อมูล : 6/9/2566 9:29:42     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 16442

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ต้อนรับการศึกษาดูงาน คณะผู้แทนจากกระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ ประเทศภูฏาน
เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริการวิชาการ ให้การต้อนรับ นาย Dasho Thinley Namgyel เลขาธิการกระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ พร้อมคณะผู้แทนจากกระทรวงเกษตรและปศุสัตว์ ประเทศภูฏาน ได้เข้าศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช โดยมี นางสาวจันทร์เพ็ญ สะระ ตำแหน่งนักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ ให้ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช จากนั้นได้เดินทางไปยัง แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี นายนิคม สุทธา ตำแหน่งนักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ ให้ความรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
3 พฤษภาคม 2567     |      7
อบรมเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office)
เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 กลุ่มสำนักงานอาคารเฉลิทพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดอบรมเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) กล่าวเปิดการอบรม โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริหาร มีคณะกรรมการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เข้าร่วมอบรม โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สยาม อรุณศรีมรกต ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย ตรวจประเมิน และให้การรับรอง มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมคณะทำงานในแต่ละหมวด ก่อนเข้ารับการประเมินสำนักงานสีเขียว ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ #GreenOffice
30 เมษายน 2567     |      22
กิจกรรม MAID Startup Scouting 2024
กิจกรรม MAID Startup Scouting 2024 เวทีคัดเลือกแนวคิดและต้นแบบผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพในย่านนวัตกรรมเกษตรและอาหารแม่โจ้เพื่อต่อยอดทางธุรกิจ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567  ทีมสตาร์ทอัพได้ร่วมกิจกรรมนำเสนอแนวคิดและต้นแบบผลิตภัณฑ์เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะจากกรรมการทั้งจากภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ภาควิชาการ นักลงทุน และนักวิจัยที่ Spinoff เป็นสตาร์ทอัพ โดยทีมสตาร์ทอัพทุกทีมได้แนวทางในการพัฒนาทีมทั้งด้านเทคโนโลยี การตลาด ช่องทางการพัฒนาธุรกิจ เพื่อนำไปปรับใช้ต่อในกระบวนการบ่มเพาะ ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2567  ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้  และ รองศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้การต้อนรับและให้กำลังใจสตาร์ทอัพด้วยตนเอง  นอกจากนี้ยังได้มีการแนะนำ Magrow Holding Company Limited ซึ่งเป็นโฮลดิ้ง คอมพานี ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ หนึ่งในกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนนวัตกรรมจากงานวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ ในวันดังกล่าว
30 เมษายน 2567     |      15