สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 กองบริหารงานสำนักวิจัยฯ โดยงานคลังและพัสดุ ได้จัดประชุมหารือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการเบิกหักผลักส่งงบประมาณวิจัยและบริการวิชาการ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อรทัย มิ่งธิพล รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายวิจัย เป็นประธาน  ซึ่งกระบวนการเบิกหักผลักส่งในระบบ GFMIS หมายถึง การเบิกเงินงบประมาณหรือเงินนอกงบประมาณที่ฝากคลังไปแล้ว ต่อมาตรวจสอบพบภายหลังว่าระบุรหัสงบประมาณ รหัสแหล่งของเงิน รหัสกิจกรรมหลักไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด หรือ เป็นการบันทึกรายการเบิกเงินงบประมาณเพื่อชดใช้ข้ามหน่วยงานการเบิกหักผลักส่งรายการประเภทนี้ จะเป็นรายการเบิกหักผลักส่งที่ชดใช้รายการขอเบิกเงินที่หน่วยงานได้รับ
เงินและจ่ายเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว สำหรับการบันทึกรายการเบิกหักผลักส่งข้ามหน่วยงาน  กิจกรรมจัดขึ้น ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้

รายละเอียด กระบวนการเบิกหักผลักส่ง

ปรับปรุงข้อมูล : 21/6/2567 10:11:35     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 131

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ข่าวล่าสุด

ต้อนรับคณะศึกษาดูงานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ผู้บริหารและบุคลากร สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมต้อนรับคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จำนวน 80 คน ซึ่งได้เดินทางมาร่วมประชุมสัมมนาคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ครั้งที่ 9 "บทบาทคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย มุ่งสู่ Net Zero 2065" พร้อมถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 และด้านเกษตรอัจฉริยะ ณ แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
4 พฤศจิกายน 2567     |      10
สัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การจัดทำแผนปฏิบัติการ สำนักวิจัยฯ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2568"
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 เวลา 08.30-16.30 น. สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร" กล่าวต้อนรับโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ และแนะนำผู้บริหารในหน่วยงาน กล่าวเปิดโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รักษาการแทนรองอธิการบดี พร้อมทั้งให้นโยบายบริหารจัดการด้านการวิจัย และด้านการบริการวิชาการ นำเสนอแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดย นายวรุณสิริ สุจินดา หัวหน้างานยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผล กองแผนงาน สำนักงานมหาวิทยาลัย ต่อจากนั้นมีการนำเสนอการบริหารจัดการหน่วยงาน นำเสนอการวิเคราะห์ SWOT และแผนการดำเนินงานของแต่ละกอง ทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวิเคราะห์ SWOT ANALYSIS ภาพรวมของสำนักวิจัยฯ พร้อมระดมความคิดในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีผู้บริหารและบุคลากรสำนักวิจัยฯ เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 304 สำนักวิจัยฯ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้
31 ตุลาคม 2567     |      24
ร่วมรำลึกถึง ศ.ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย อธิการบดีคนแรก คนต้นแบบลูกแม่โจ้
เมื่อวันพุธที่ 30 ตุลาคม  2567  มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ จัดงานวันวิภาต บุญศรี วังซ้าย  โดยได้รับเกียรติจาก  ดร.อำนวย  ยศสุข  นายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธี   พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี นำทีมคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ตัวแทนศิษย์เก่าแม่โจ้รุ่นต่างๆ และนักศึกษา กล่าวสดุดี วางพวงมาลา  เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที รำลึกถึงคุณความดีของ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี  วังซ้าย  อธิการบดีคนแรกของแม่โจ้  โอกาสนี้ อาจารย์พัชรินทร์ สุกัณศีล ทายาท ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ให้เกียรติเข้าร่วมงานในครั้งนี้      พร้อมกันนี้ได้มีพิธีมอบทุนการศึกษา มูลนิธิศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย จำนวน 3 ทุน เป็นเงิน  30,000 บาท  และทุนการศึกษาจากชมรมจักรยานศิษย์เก่าแม่โจ้ จำนวน 8 ทุน เป็นเงิน 40,000 บาท เพื่อจัดสรรทุนส่งมอบโอกาสการทางการศึกษาให้น้อง ๆ นักศึกษาแม่โจ้ ต่อไป  ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างอบอุ่น ณ บริเวณลานอนุสาวรีย์ ศาสตราจารย์ วิภาต บุญศรี วังซ้าย  สำนักหอสมุด มหาวิทยลัยแม่โจ้  จ.เชียงใหม่ ศาสตราจารย์ ดร.วิภาต บุญศรี วังซ้าย ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 1  เป็นชาวจังหวัดแพร่ เกิดเมื่อวันที่ 12  มีนาคม 2459  หลังจากสอบไล่ได้มัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนพิริยาลัย จ.แพร่  ก็ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่  และย้ายมาเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ เมื่อปี 2477  ซึ่งถือเป็นรุ่น 1 รุ่นบุกเบิกและสร้างแม่โจ้   เมื่อจบจากแม่โจ้ท่านสอบชิงทุนหลวงไปศึกษาต่อมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์   จนจบปริญญาตรี ปี พ.ศ. 2484  จึงกลับมารับราชการเป็นอาจารย์ที่แม่โจ้ ตำแหน่งอาจารย์ผู้ปกครองนาน 6 ปี จากนั้นท่านไปลงสมัครผู้แทนราษฎร 2 ครั้ง  พอถึงปี พ.ศ. 2497 ท่านกลับเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ใหญ่ชั้นเอกของโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้ จวบจนกระทั่งได้เป็นอธิการบดีคนแรกของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ถึง 2 สมัย ท่านเป็นครูผู้สร้างและพัฒนาแม่โจ้ให้เจริญ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการอาชีวเกษตรของประเทศไทย ปลดแอกข้อจำกัดของวงการอาชีวเกษตรในอดีต  บุคคลผู้เป็นต้นแบบนักต่อสู้ เอาชนะอุปสรรค  คนต้นแบบลูกแม่โจ้  ผู้ให้อมตะโอวาท “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” คติพจน์ประจำใจของลูกแม่โจ้จวบจนปัจจุบัน
31 ตุลาคม 2567     |      19