สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

มื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีเปิดการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2567 “การเกษตรสุขอัจฉริยะ” การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืนเพื่อสุขภาวะและคุณภาพชีวิตที่ดี (Intelligent Well-being Agriculture (IWA) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีสกุล รองอธิการบดี กล่าวต้อนรับ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร กล่าวรายงาน ซึ่งมี อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิตนักศึกษา รวมถึงเครือข่ายภาคเอกชนทั่วประเทศ เข้าร่วมการประชุม กว่า 100 คน ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้

การจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-20 ธันวาคม 2567 ด้วยความร่วมมือของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร คณะ/สำนัก/วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเครือข่าย โดยมีเป้าหมายคือขยายเครือข่ายวิชาการและนวัตกรรมการเกษตร อาหาร สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เปิดเวทีให้ผู้สนใจได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์งานวิจัยในรูปแบบของการเสวนาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และการนำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กลุ่มเกษตรอัจฉริยะและเกษตรอินทรีย์ / กลุ่มความหลากหลายทางชีวภาพ / กลุ่มเทคโนโลยีการเกษตร / กลุ่มการแปรรูปผลิตผลการเกษตรและนวัตกรรมอาหาร / กลุ่มนวัตกรรมพืชเศรษฐกิจใหม่เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ / กลุ่มสิ่งแวดล้อม ฝุ่น หมอกควัน ขยะการเกษตร ความเป็นกลางทางคาร์บอน และพลังงานทดแทน และกลุ่ม วิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งเป้าหมายในการเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งเกษตรอัจฉริยะ” (Intelligent Agriculture University) ภายในปี พ.ศ. 2571 ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ (Agriculture and Food) ด้านสังคม (Human being Health) และด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน (Environment and Energy) ที่ผสมผสานสอดคล้องกัน มหาวิทยาลัย ได้กำหนดนโยบายขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนา อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมาย เป็นผู้นำในการพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ การวิจัยและนวัตกรรม บัณฑิตผู้ประกอบการ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมสุขภาพ ความเท่าเทียม และความเป็นอยู่ ที่ดี และการสร้างครือข่ายความร่วมมือในทุกด้าน การจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ จึงเป็นก้าวสำคัญในการร่วมสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ทรงคุณค่าต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศชาติ ต่อไป”

ปรับปรุงข้อมูล : 23/12/2567 15:32:12     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 220

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม ข่าวงานวิจัย

ข่าวล่าสุด

เสวนาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์งานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2568-2572
เมื่อวันที่ 16  มิถุนายน 2568 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดเสวนา เรื่อง “การจัดทำแผนยุทธศาสตร์งานวิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2568-2572” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธาน ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำเสนอร่าง แผนยุทธศาสตร์งานวิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2568-2572 เป้าหมาย และตัวชี้วัดสำคัญ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุบรรณ ฝอยกลาง  รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายวิจัย ผู้เข้าร่วมเสวนา วิพากษ์ ร่าง แผนยุทธศาสตร์งานวิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2568-2572 เป้าหมาย และตัวชี้วัดสำคัญ พร้อมกำหนดแผนงานวิจัย สำหรับงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (FF) ประจำปี พ.ศ. 2570  วัตถุประสงค์เพื่อร่วมจัดทำแผนยุทธศาสตร์งานวิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2568-2572 และพัฒนาแผนงานวิจัยให้สอดคล้องกับนโยบาย เป้าหมายและทิศทางของมหาวิทยาลัย สำหรับการเสนอของบประมาณ เพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund: FF) และงบประมาณโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Development Fund: ST)
18 มิถุนายน 2568     |      14
งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ (Thailand Research Expo 2025)
นิทรรศการนำเสนอผลงานวิจัย ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ Thailand Research Expo 2025 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิรด์ กรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2568 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภานุวัฒน์ เมฆะ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมจัดนิทรรศการนำเสนอผลงานวิจัย จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่1.การพัฒนาเครื่องอบแห้งลมร้อนแบบถาดหมุนระบบควบคุมอุณหภูมิ 2 ขั้นตอน โดย รศ.ดร.ฤทธิชัย อัศวราชันย์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้2.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เพื่อยกระดับข้อมูลผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจากดอกดาวเรืองอินทรีย์โดยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจตลอดห่วงโซ่อุปทานและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน โดย ผศ.ดร.กาญจนา นาคประสม , ดร.ประนอม ยังคำมั่น และ ผศ. ดร.ณภัทร เรืองนภากุล พร้อมทั้งนำเมล็ดพันธุ์ผัก แจกให้กับผู้มาเยี่ยมชมงานวิจัยงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568 (Thailand Research Expo 2025) "Research for All เชื่อมต่ออนาคตไทย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-20 มิถุนายน 2568 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิรด์ กรุงเทพมหานคร
18 มิถุนายน 2568     |      12
พิธีวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ
พิธีวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ ร่วมรำลึกประวัติศาสตร์ ก้าวสู่เวทีสากล** เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนืออย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้แนวคิด “91 แม่โจ้ ก้าวสู่อันดับโลก” โดยได้รับเกียรติจาก **ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เทพ พงษ์พานิช** นายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธี ท่ามกลางบรรยากาศเปี่ยมด้วยความสามัคคีของคณะผู้บริหาร ผู้แทนคณาจารย์ บุคลากร ศิษย์เก่าจากทั่วประเทศ และองค์กรนักศึกษาที่เข้าร่วมอย่างคับคั่ง พิธีเริ่มขึ้นตั้งแต่เวลา 08.59 น. ด้วยการบวงสรวงพระพิรุณทรงนาค และวางพวงมาลาคารวะอนุสาวรีย์ **อำมาตย์โทพระช่วงเกษตรศิลปการ** “บิดาเกษตรแม่โจ้” ผู้บุกเบิกวางรากฐานการเกษตรและการศึกษาไทย ซึ่งได้รับเกียรติจาก **คุณขุมทรัพย์ โลจายะ** ทายาทอำมาตย์โทพระช่วงฯ ร่วมพิธีในครั้งนี้ด้วย ภายในงาน ศิษย์เก่ารุ่นต่างๆ ได้ร่วมกันมอบเงินสนับสนุนกว่า 200,000 บาท เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ และผู้แทนศิษย์เก่าแต่ละรุ่น แต่ละภูมิภาค เข้าร่วมแสดงพลังศรัทธาอย่างเนืองแน่น **รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ สุภาพันธ์** รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริการวิชาการ พร้อมด้วยบุคลากร ร่วมพิธีวางพวงมาลาอนุสาวรีย์อำมาตย์โทพระช่วงเกษตรศิลปการ แสดงถึงความเคารพในรากฐานและจิตวิญญาณแม่โจ้ที่สืบทอดมายาวนาน ในโอกาสครบรอบ 91 ปี นับตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2477 แม่โจ้ได้ก้าวข้ามจากโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ สู่ **มหาวิทยาลัยแม่โจ้** ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับ 9 ของมหาวิทยาลัยไทย และเป็นอันดับ 3 ในด้านคุณภาพการวิจัยที่ดีที่สุดของประเทศ (SCImago Institutions Rankings) พร้อมทั้งติดอันดับ 12 ของมหาวิทยาลัยไทย ในกลุ่ม Top 401 – 600 ของโลก จากการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (THE Impact Rankings 2024) นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ยังได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวเป็นอันดับ 11 ของประเทศ และอันดับที่ 143 ของโลก พร้อมอยู่ในกลุ่ม Top 10 มหาวิทยาลัยรัฐที่มีผู้สนใจเข้าศึกษาต่อมากที่สุดอย่างต่อเนื่อง ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่เหล่านี้เป็นผลจากการมุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน มีคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อขับเคลื่อนสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐานอย่างยั่งยืน งานวันคล้ายวันสถาปนาในปีนี้จึงไม่เพียงแต่เป็นการรำลึกถึงประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่า แต่ยังเป็นเวทีแสดงพลังสามัคคีและความภาคภูมิใจของชาวแม่โจ้ที่มุ่งสู่เวทีโลกอย่างมั่นคง “ไม่มีพระช่วงฯ ไม่มีแม่โจ้” คำกล่าวนี้ยังคงซาบซึ้งอยู่ในหัวใจชาวแม่โจ้ทุกยุคทุกสมัย สะท้อนถึงวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นในการเป็นผู้นำสถาบันการศึกษาเกษตรของไทยที่ยืนหยัดมาอย่างต่อเนื่องถึง 91 ปี
10 มิถุนายน 2568     |      33
กิจกรรม MJU ECO DAY รณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลก
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้จัดกิจกรรมพิเศษ "MJU ECO DAY" เพื่อรำลึกถึงวันสิ่งแวดล้อมโลก โดยมุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการลดการใช้พลาสติกในชีวิตประจำวัน รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดงานในครั้งนี้ ณ อาคารแผ่พืชน์ โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนของโลกใบนี้ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภายใต้การนำของผู้ช่วยศาสตราจารย์ภานุวัฒน์ เมฆะ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริหาร พร้อมทีมบุคลากร ได้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่ โดยจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ไฮไลท์ของงาน: แซนด์วิชใบตองลดพลาสติก จุดเด่นของกิจกรรมในครั้งนี้คือการจัดกิจกรรมเวิร์กช็อป "การทำแซนด์วิชที่ใช้ใบตอง" ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจในการลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก โดยมีนายณัฐวุฒิ เครือฟู ทำหน้าที่เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม การใช้ใบตองแทนพลาสติกในการห่ออาหารนี้ ไม่เพียงแต่เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยที่มีการใช้ใบตองในการห่อและบรรจุอาหารมาแต่โบราณ ความหมายและผลกระทบ กิจกรรม MJU ECO DAY ในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการเป็นสถาบันการศึกษาที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการนำองค์ความรู้ทางวิชาการมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม การจัดกิจกรรมในลักษณะนี้ไม่เพียงแต่สร้างความตระหนักรู้แก่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย แต่ยังเป็นแบบอย่างที่ดีในการขยายผลไปสู่ชุมชนและสังคมในวงกว้าง โดยเฉพาะการส่งเสริมการใช้วัสดุธรรมชาติทดแทนพลาสติกซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของโลกในปัจจุบัน กิจกรรมนี้จึงถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม และการปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์โลกให้แก่คนรุ่นใหม่อย่างยั่งยืนต่อไป
10 มิถุนายน 2568     |      22