สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

งานประกวดฟ้อนเล็บ ครั้งที่ 3 วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2556 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ณ ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์

Smileดาวโหลดกำหนดการ,กติกา,ใบสมัคร


กำหนดการแข่งขันประกวดฟ้อนเล็บล้านนาไทยครั้งที่ 3
 

วันอาทิตย์ที่  21  เมษายน  2556 

ณ ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่ 

--------------------------------------------- 

 

เวลา  17.00  น.          ลงทะเบียน

เวลา  18.00  น.          พิธีเปิดการแข่งขันประกวดฟ้อนเล็บล้านนาไทย ครั้งที่ 3

                             กล่าวรายงานโดย...รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ   ข้ามสี่

                                                                 ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

                             กล่าวเปิดงานโดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร  ยศราช

                                                    อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้

เวลา  18.30  น.          ดำเนินการแข่งขันประกวดฟ้อนเล็บ 

เวลา  21.30  น.          พิธีมอบรางวัล โดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร  ยศราช

                                                    อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

กติกาการประกวดฟ้อนเล็บล้านนาไทย ครั้งที่ 3

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2556  เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป 

ณ  ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่

๑.          ลักษณะการประกวด 

ประกวดฟ้อนเล็บให้ประกวดเป็นคณะ ผู้เข้าประกวดต้องเป็นเพศหญิง จำนวน ๘-12 คน

โดยจะรับสมัครเพียงจำนวน 10 ทีมเท่านั้น

๒.         วิธีการประกวด 

2.1)  การแต่งกายของผู้เข้าประกวด

-  เสื้อ                ใช้เสื้อแขนกระบอก คอกลม หรือคอจีน หรือคอยะวาผ่าอกตลอด

-   ผ้านุ่ง             ใช้ผ้าซิ่นตีนต่อลายขวาง หรือตีนดำ หรือตีนลวด หรือตีนจกแบบมีเชิง หรือผ้าทอยกดอกแบบมีเชิงในตัว (ไม่อนุญาตให้นุ่งผ้าถุงสำเร็จ)

-   ผ้าสไบ           ใช้ผ้าสไบสีพื้น ไม่มีลวดลาย เช่น ผ้าแพรเยื่อไม้ ผ้าต่วน หรือผ้าสไบฟ้อนเมือง ถ้าใช้สไบโปร่งทองต้องนุ่งผ้าซิ่นทอยกดอกมีเชิง (ไม่อนุญาตให้ใช้สไบโปร่งเงิน)

-   ทรงผม           เกล้ามวยผมแบบญี่ปุ่น หรือเกล้ามวยผมแบบพื้นเมืองเหนือ(เกล้าเรียบร้อย หรือชักหงีบ)

-   ดอกไม้           ดอกไม้ประดับมวยผมใช้ดอกกล้วยไม้ (เอื้องผึ้ง เอื้องหลวง) ของสด หรือของเทียม หรือดอกไม้ไหวทอง ไม่อนุญาตให้ใช้ดอกไม้ไหวเงิน)จะมีพวงอุบะก็ได้ แต่ต้องไม่ยาวเกินคางหรือต้นคอ

-   เล็บ               ผู้ฟ้อนทุกคนต้องสวมเล็บมือ

2.2)  ท่าฟ้อน 

          ใช้ท่าฟ้อนเล็บแบบพื้นเมือง เช่น ท่าไหว้ ท่าบิดบัวบาน ท่ายอน ท่าสะบัดจีบ ท่าเชื่อมต่างๆ

2.3)    ระยะเวลาการประกวด 

         ผู้ฟ้อนของแต่ละคณะ จะใช้ท่าฟ้อนแสดงลีลาการฟ้อนต่างๆ เช่น วงกลม ตั้งแถว ฯลฯ      แต่ต้องไม่มีแบบประยุกต์ เช่น ต่อตัว ออกมังกรล่อแก้ว ฯลฯ ใช้เวลาประมาณ 8-10 นาที

2.4)    ดนตรีประกอบ 

          ให้ทางคณะผู้เข้าประกวดจัดเตรียมเพลงลงแผ่นซีดีมาเอง

2.5)    ผู้เข้าร่วมประกวด 

          ผู้เข้าประกวดแต่ละคณะ ต้องไม่ซ้ำกัน

2.6)   คณะกรรมการจัดการประกวด 

                        คณะกรรมการ จะจัดคณะในการฟ้อนประกวด เรียงตามลำดับการมารายงานตัวของ       แต่ละคณะในวันทำการประกวด

2.7)    ผู้เข้าร่วมประกวด 

                        ผู้เข้าประกวดต้องมารายงานตัวต่อคณะกรรมการจัดการประกวด ในวันทำการประกวด    ในวันอาทิตย์ที่  21  เมษายน 2556  เวลา 17.00-18.00 น.

2.8)    การสนับสนุนทีมผู้เข้าประกวด 

          คณะกรรมการการจัดประกวด สนับสนุนให้คณะที่เข้าร่วมประกวด คณะละ 1,000 บาท

๓.          เกณฑ์การตัดสิน (ถือมติคณะกรรมการการตัดสินเป็นที่สิ้นสุด) โดยพิจารณาจากเกณฑ์ดังนี้ 

  1. ความพร้อมของแต่ละคณะ
  2. จังหวะการฟ้อน
  3. ลีลาท่าฟ้อน
  4. มารยาทของผู้ฟ้อน
  5. การแต่งกาย
  6. การตรงต่อเวลา

๔.          รางวัลการประกวด 

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1    จำนวน  1  รางวัล           7,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

รางวัลชนะเลิศอันดับ 2    จำนวน  1  รางวัล           5,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

รางวัลชนะเลิศอันดับ 3    จำนวน  1  รางวัล           3,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

รางวัลชมเชย                 จำนวน  2  รางวัลๆ ละ    1,500 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

๕.          กำหนดการรับสมัคร   ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันพุธที่ 17 เมษายน 2556  

ก่อนเวลา 12.00 น. 

๖.          สถานที่รับสมัคร        

นายณัฐวุฒิ  เครือฟู                    

ฝ่ายยุทธศาสตร์และประสานงานวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

โทร 0-5387-5114, 081-9936621

Fax 0-5387-5118

Email: researchmju@mju.ac.th

Email: raemju@gmail.com

 

ชมภาพการประกวดฟ้อนเล็บล้านนาไทย ครั้งที่๒ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๕ <<< คลิ๊ก...

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 38049

กลุ่มข่าวสาร : อื่นๆ

ข่าวล่าสุด

พิธีเปิดงาน “U2T the Best” นิทรรศการสินค้าและผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
พิธีเปิดงาน “U2T the Best” นิทรรศการสินค้าและผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ เครือข่ายมหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบน จัดโดย สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองศาสตราจารย์ จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ และผู้บริหารมหาวิทยาลัย ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีเปิด และรับเกียรติจาก นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อรุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงาน พร้อมทั้งการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “อนาคตของประเทศไทยภายใต้การบูรณาการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)” นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม การมอบรางวัล “U2T The Best” และกิจกรรมเสวนา “วันวาน U2T วันนี้ BCG พรุ่งนี้ SDGs)” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำน่าน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาลี ตระกูล รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมผล ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิพัทธิ์ ถนอมพงษ์ชาติ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ อาจารย์ ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ กิจกรรมเล่าเรื่อง U2T กับความสำเร็จของตำบล โดยตัวแทน 9 แห่ง ได้แก่ 1.ตำบลป่าซาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 2.ตำบลห้วยไร่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 3.ตำบลเมืองแปง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 4.ตำบลคลองน้ำไหล มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 5.ตำบลสันป่าเปา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 6.ตำบลป่าไผ่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 7.ตำบลตลาดขวัญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 8.ตำบลโหล่งขอด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 9.ตำบลในเวียง สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 มีนาคม 2566 ณ ลานแกรนด์ฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การรค้าเซ็นทรัลแอร์พอร์ต
28 มีนาคม 2566     |      6
กิจกรรมการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่อดอกกกัญชง ณ จังหวัดอุดรธานี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และบริษัท ทีเอ็นอาร์ ไบโอไซเอินซ์ จำกัด ร่วมกิจกรรมการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่อดอกกกัญชง ณ จังหวัดอุดรธานีผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นายเสกสรร สงจันทึก นักวิชาการเกษตร นางสาววัชรินทร์ จันทวรรณ์ นักวิจัย และทีมนักวิจัย งานปรับปรุงและขยายพันธุ์กรรมพืชและสัตว์ กองบริหารงานบริการวิชาการ สำนักวิจัยฯ ร่วมกิจกรรมการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่อดอกกกัญชง ของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 6 - 9 มีนาคม พ.ศ. 2566วันอังคารที่ 7 มีนาคม 2566 ร่วมกิจกรรมการสาธิตและขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่อดอกกัญชงให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกกัญชง ภายใต้โครงการวิจัยเชิงพัฒนาเพื่อส่งเสริมการปลูกพืชกัญชงเชิงพาณิชย์ครบวงจร จังหวัดอุดรธานี ของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ โดยสาธิตเทคนิคการตัดช่อดอกกัญชงในแปลงปลูกและวิธีการในการรูดช่อดอกกัญชง ก่อนการลดความชื้นด้วยการอบแห้ง โดยมี พลตำรวจตรีภานุเดช บุญเรือง ผู้อำนวยการโครงการวิจัยเชิงพัฒนาเพื่อส่งเสริมการปลูกพืชกัญชงเชิงพาณิชย์ครบวงจร และที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ ฯ และนายนพวัชร สิงห์ศักดา ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ ฯ ให้การต้อนรับและร่วมกิจกรรมดังกล่าว อีกทั้งยังมีการเชื่อมโยงขยายผลงานวิจัยความร่วมมือระหว่างบริษัท ทีเอ็นอาร์ ไบโอไซเอินซ์ จำกัด นำโดยคุณทศพล นิลกำแหง นายกสมาคมสหอุตสาหกรรมพืชกัญชงและกัญชา และผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค บริษัท ไทยนิปปอนรับเบอร์อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) และเจ้าหน้าที่บริษัทฯ สนับสนุนขยายผลงานวิจัยสู่เกษตรกรผู้ปลูกกัญชง และบริษัท ฯ ได้มีการรับซื้อผลผลิตช่อดอกกัญชงอบแห้งของเกษตรกรภายใต้สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริวันพุธที่ 8-9 มีนาคม 2566 ทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วางแผนดำเนินงานเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตช่อดอกกัญชงและการรูดช่อดอกกัญชง จำนวน 909 ต้น เพื่อให้สามารถขนส่งช่อดอกกัญชงจากจังหวัดอุดรธานี ไปยังศูนย์ทดสอบ วิจัย และพัฒนากัญชง มหาวิทยาลัยแม่โจ้
20 มีนาคม 2566     |      79
การเยี่ยมชมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
วันที่ 11 มีนาคม 2566 การเยี่ยมชมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปณ ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และกลุ่มเกษตรกรตำบลหนองตองที่เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ให้การต้อนรับ นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยนายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหาร ยุทธศาสตร์และคณะ ซึ่งในงานดังกล่าวมีการเยี่ยมชม ฐานการเรียนรู้การใช้จุลินทรีย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต, ฐานการเรียนรู้การทําปุ๋ยหมักไม่ต้องกลับกอง “วิศวกรรมแม่โจ้ 1", เยี่ยมชมสวนลำไยที่ใช้ปุ๋ยกับเชื้อจุลินทรีย์ และเยี่ยมชมโรงอบลำไย ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านป่าลาน ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
16 มีนาคม 2566     |      32