สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ร่วมหารือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการสร้างการเกษตรให้มีมูลค่าสูง สู่การเกษตร BCG สาขายุทธศาสตร์ภายใต้ BCG
วันที่ 5 กันยายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ร่วมหารือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมทีมงาน นายธนรักษ์ พงเพตรา รองประธาน ประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร นายไพฑูรย์ ศิริฉัตรชัยสกุล รองประธาน ประธานสถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่ออุตสาหกรรม นายวิบูลย์ รักสาสน์เจริญผล เลขานุการ innovation one นายวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง รองประธานอุตสาหกรรมเชียงใหม่ สร้างการเกษตรให้มีมูลค่าสูง สู่การเกษตร BCG สาขายุทธศาสตร์ภายใต้ BCG ที่แม่โจ้สามารถร่วมได้ ได้แก่ 1) สาขาเกษตรและอาหาร มุ่งสู่การผลิตสินค้าเกษตรและอาหารจากการผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย ไปสู่การผลิตสินค้าที่เป็นพรีเมี่ยมที่ผลิตน้อยแต่สร้างรายได้สูง รวมถึงการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าเกษตรเศรษฐกิจ 2) สาขาสุขภาพและการแพทย์ มุ่งเน้นการสร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ทางด้านการผลิตยาและชีวเภสัชภัณฑ์ 3) สาขาพลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ มุ่งเน้นการเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานและการต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์เคมีและวัสดุชีวภาพมูลค่าสูง ด้วยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด 4) สาขาการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มุ่งพัฒนาสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนด้วยการใช้จุดแข็งของพื้นที่มาสร้างอัตลักษณ์ของตนเอง ควบคู่กับการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงในการรองรับนักท่องเที่ยว ฟื้นฟูและป้องกันปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่เน้นการค้นหารากเหง้าทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเนื้อหาอัตลักษณ์เชิงพื้นที่มาต่อยอดผลิตภัณฑ์และบริการให้มีมูลค่าที่สูงขึ้น เพื่อสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึงด้วยการเชื่อมโยงและมุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถของระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) เน้นการพัฒนาระบบการเกษตรปลอดภัย มีมูลค่าสูง ส่งเสริมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และต่อยอดเศรษฐกิจด้วยทุนทางวัฒนธรรมล้านนา (Creative Lanna) เทคโนโลยีและองค์ความรู้ขั้นแนวหน้า เป็นแรงขับเคลื่อนที่มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จและการสร้างรากฐานที่มั่นคงและยั่งยืนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่สำคัญ อาทิ 1. Complex Microbiota กับสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และพืช เนื่องจากกลุ่มจุลินทรีย์ที่ซับซ้อนที่อาศัยอยู่ในร่างกายหรือผิวหนังมนุษย์และสัตว์มีส่วนสำคัญในการกำหนดสุขภาพที่ดี 2) เทคโนโลยีโอมิกส์ (OMICs) สร้างความรู้สำคัญที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดทั้งในด้านการเกษตร การแพทย์ และอุตสาหกรรมชีวภาพ 3) วิศวกรรมกระบวนการทางชีวภาพ (Bioprocess Engineering) เป็นเทคโนโลยีพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาต่อยอดชีวมวล 4) Gene Editing และ Synthetic Biology เพื่อปรับเปลี่ยนพันธุกรรมหรือสร้างสิ่งมีชีวิตให้มีลักษณะตามต้องการ โดยเฉพาะจุลินทรีย์สำหรับอุตสาหกรรมและในเซลล์เพื่อการผลิตยาชีววัตถุ 5) เทคโนโลยีการผลิตแบบคาร์บอนต่ำ สำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว 6) เทคโนโลยีประมวลความเร็วสูงด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่ รองรับการทำงานของระบบปัญญาประดิษฐ์ขั้น Deep Learning สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี เกษตรอาหาร สุขภาพและการแพทย์ที่มีความแม่นยำสูง 7) เทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มขั้นสูง ทางการเกษตร
6 กันยายน 2566     |      31291
นักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้ารางวัล "Gold Award" ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023)
นักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้ารางวัล "Gold Award" ในงาน “มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023)”โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการรับมอบรางวัลดังกล่าว ในผลงานวิจัยเรื่อง “กำเนิดพันธุ์ข้าวหอมแม่โจ้” โดย หน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระหว่างวันที่ 7 - 11 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิรด์ กรุงเทพมหานคร 
25 สิงหาคม 2566     |      447
สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการฝึกอบรม "จรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์"
วันที่ 16 สิงหาคม 2566 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการฝึกอบรม "จรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์" โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในงาน ซึ่งภายในงานมีกิจกรรม การบรรยาย เรื่อง "จรรยาบรรณนักวิจัย และจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัวเรียม มณีวรรณ์ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การเสวนา เรื่อง "การดำเนินโครงการที่มีการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์ ดร.กฤษดา ชูเกียรติศิริ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราพร โรจน์ทินกร คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ บรรยาย เรื่อง " การยื่นขอใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์และเพื่อการเรียนการสอน" โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์ ดร.กฤษดา ชูเกียรติศิริ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และการบรรยาย เรื่อง "การใช้สถิติในการวางแผนและวิเคราะห์ผลการทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์" รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.วีระศักดิ์ ปัญญาพรวิทยา คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
17 สิงหาคม 2566     |      30426
รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายวิจัย เข้าร่วมพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน
วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.อรทัย มิ่งธิพล รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายวิจัย เข้าร่วม โครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2566 ซึ่งมี พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธี ณ อาคารศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
25 กรกฎาคม 2566     |      131
รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริการวิชาการ นาย ฮา กง ทุน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะซันอิมเม็กซ์ จำกัด และคณะ ในการเยี่ยมชมศูนย์เกษตรอินทรีย์แม่โจ้
วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริการวิชาการ ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี  และคณะผู้บริหารคณะผลิตกรรมเกษตร ร่วมต้อนรับ นาย ฮา กง ทุน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดอะซันอิมเม็กซ์ จำกัด และคณะ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนของนักธุรกิจชาวเวียดนามดำเนินกิจการนำเข้าและส่งออกสินค้าค้านการเกษตร ยุโรปและอเมริกา ในโอกาสเดินทางเข้าพบผู้บริหารของมหาวิทยาลัย เพื่อหารือแนวทางงานด้านเกษตรอินทรีย์ร่วมกัน ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 สำนักงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้
24 กรกฎาคม 2566     |      32008
สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับคณะดูงานจาก ผู้บริหารกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ในกลุ่มภาคเหนือ
วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับคณะดูงานจาก ผู้บริหารกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา ในกลุ่มภาคเหนือ ในการดูงานเกี่ยวกับวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชาและกัญชง โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริการวิชาการ และ นางสาววัชรินทร์ จันทวรรณ์ นักวิจัย เป็นวิทยากร พร้อมทั้งพาเยี่ยมชมแปลงสาธิตกัญชง ณ สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้
24 กรกฎาคม 2566     |      201
โครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง “การผลิตพืชมูลค่าสูงเพื่อเสริมรายได้และสร้างสุขภาพที่ดี”
วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดโครงการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง “การผลิตพืชมูลค่าสูงเพื่อเสริมรายได้และสร้างสุขภาพที่ดี” ซึ่งในงานมีการบรรยาย เรื่อง "แม่โจ้กับการสนองงานตามพระราชดำริ" และ "ศาสตร์พระราชากับการประยุกต์ใช้" โดยมี นายนิคม วงศ์นันตา ผู้อำนวยการกองบริหารงานบริการวิชาการ เป็นวิทยากร และกิจกรรมฝึกปฏิบัติ "การปรับปรุงดินให้เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืช" "การดูแลรักษาพืชผัก" "การผลิตสารสกัดชีวภาพ สารสกัดไล่แมลง" และ "ศึกษาดูงานแปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่" โดยมี นายนิคม สุทธา นักวิชาการเกษตร เป็นวิทยากร ณ แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ (15 ไร่) การบรรยาย "การผลิตพืชในระบบโรงเรือนพลาสติก" "อุปกรณ์/ระบบการผลิต" "การดูแลรักษา/โรคแมลง" และ "การเก็บเกี่ยว คัดเกรด การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว" โดย นายวิทูลย์  บุญสง่า จาก มูลนิธิโครงการหลวง เป็นวิทยากร และ การฝึกปฏิบัติ "การเพาะเมล็ดพืช" "การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์เพาะกล้า" "เทคนิคการดูแลรักษาต้นกล้าพืช" "ศึกษาดูงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่" โดยมี นางวีรดา ธงงาม ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
12 กรกฎาคม 2566     |      264
สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในงาน Lanna Expo 2023 จังหวัดเชียงใหม่
วันที่ 4 กรกฎาคม 2566 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมจัดนิทรรศการผลงานการขับเคลื่อนล้านนาอย่างสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่เศรษฐกิจฐาน BCG "MHESI Innovation Fair for BCG Creative LANNA"ในงาน Lanna Expo 2023 จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในงานมีกิจกรรม การฝึกปฏิบัติ (workshop) การทำโลชั่นตะไคร้หอม และ การทำสบู่เหลวตะไตร้หอม โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มธุรส ชัยหาญ คณะวิทยาศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระพล เสนพันธุ์ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นวิทยากร ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 
4 กรกฎาคม 2566     |      387
ทั้งหมด 107 หน้า