สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

โครงการฝึกอบรม "สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่" (ลูกไก่) ครั้งที่ 4 ประจำวันที่ 12 มกราคม 2559

ภาคทฤษฏี

ผศ.ดร.รุ่งฤดี วงค์ชุม มหาวิทยาลัยพายัพ และ ดร.นงนภัส พันธุ์พลกฤต บรรยายเรื่อง
"การออกแบบการวิจัย รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ"

ผศ.ดร.บุษบา สิทธิการ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง บรรยายเรื่อง
"การออกแบบการวิจัย รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ"

ภาคปฏิบัติ

"ฝึกปฏิบัติเขียนการทบทวนวรรณกรรมและกรอบแนวคิด การสังเคราะห์วรรณกรรม" โดย
ผศ.ดร.จรีรัตน์ สุวรรณ์ ใหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ว่าที่ ร.อ.ดร.ขจร ตรีโสภณากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ดร.วราภรณ์ ดวงแสง มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ปรับปรุงข้อมูล : 18/1/2559 10:40:01     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 580

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

พิธีมอบรางวัลอันทรงเกียรติ ตราสัญลักษณ์ G-Green ระดับดีเยี่ยม
มหาวิทยาลัยแม่โจ้คว้ารางวัล "สำนักงานสีเขียว" ระดับดีเยี่ยม ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม แม่โจ้, เชียงใหม่ - 14 พฤษภาคม 2568 : กลุ่มสำนักงานอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สร้างผลงานโดดเด่นด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คว้าเกียรติบัตรตราสัญลักษณ์ G-Green ระดับดีเยี่ยม จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิธีมอบรางวัลอันทรงเกียรติจัดขึ้นเมื่อเวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ภานุวัฒน์ เมฆะ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริหาร นำทีมตัวแทนจากหน่วยงานภายในอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา 3 หน่วยงาน เข้ารับมอบรางวัล ประกอบด้วย สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์, สถาบันรับรองระบบการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร และหน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าว เกียรติบัตรตราสัญลักษณ์ G-Green ดังกล่าวเป็นผลมาจากการเข้ารับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ประจำปี 2567 ซึ่งมีระยะเวลาการรับรองตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 ถึง 6 พฤศจิกายน 2570 ครอบคลุมระยะเวลา 3 ปีเต็ม ความสำเร็จครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการเป็นองค์กรต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของประเทศ การได้รับการรับรองในระดับดีเยี่ยมนี้ ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องยืนยันมาตรฐานการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นแรงผลักดันให้บุคลากรทุกระดับของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ภาพข่าว: ผู้บริหารและตัวแทนหน่วยงานจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับมอบเกียรติบัตรตราสัญลักษณ์ G-Green ระดับดีเยี่ยม จากอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้**
14 พฤษภาคม 2568     |      5
อบรม"พลิกโฉมการทำงานยุคใหม่ด้วย Generative AI" เสริมศักยภาพบุคลากรรับมือโลกดิจิทัล
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2568 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ "พลิกโฉมการทำงานยุคใหม่ด้วย Generative AI" เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ (Generative AI) ในการปฏิบัติงานจริง โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ภานุวัฒน์ เมฆะ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริหาร ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรม โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยี AI มาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการดำเนินงานในยุคปัจจุบัน วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ นายปริญญา เพียรอุตส่าห์ นักเอกสารสนเทศ ได้ถ่ายทอดความรู้เชิงลึกและเทคนิคการใช้งานเครื่องมือ Generative AI หลากหลายรูปแบบ ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมอย่างเข้มข้น ณ ห้องบริการสารสนเทศ ชั้น 2 อาคารเรียนรวมแม่โจ้ 70 ปี การอบรมครั้งนี้มุ่งเน้นให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เรียนรู้และเข้าใจถึงศักยภาพของ Generative AI ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ถึงแนวทางการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในการจัดกระบวนการทำงานให้รวดเร็ว ลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน และเพิ่มความคล่องตัวในการบรรลุเป้าหมายของแต่ละสายงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภานุวัฒน์ เมฆะ กล่าวเพิ่มเติมว่า "การฝึกอบรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาบุคลากรของสำนักวิจัยฯ ที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการยกระดับศักยภาพของบุคลากรให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล Generative AI ถือเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพสูงที่จะช่วยให้บุคลากรของเราสามารถทำงานได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น" การอบรม "พลิกโฉมการทำงานยุคใหม่ด้วย Generative AI" ในครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมต่างได้รับความรู้และแนวทางในการนำ Generative AI ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรโดยรวมต่อไป.
13 พฤษภาคม 2568     |      13
พิธีลงนาม MOU โครงการพัฒนาพลเมืองอัจฉริยะและความยืดหยุ่นทางดิจิทัล
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ บริษัท ติ๊กต๊อก เทคโนโลยีส์ จำกัด และอีก 5 มหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ มหาวิทยาลัยพะเยา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ครั้งสำคัญ เพื่อร่วมกันพัฒนาความเป็นพลเมืองอัจฉริยะและความยืดหยุ่นทางดิจิทัล พิธีลงนามดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้กล่าวต้อนรับและนำเสนอแนวทางความร่วมมืออันจะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม ความร่วมมือครั้งนี้มีเป้าหมายหลักในการสร้างสรรค์และพัฒนาศักยภาพของพลเมืองดิจิทัลให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างสร้างสรรค์ ปลอดภัย และมีความรับผิดชอบ รวมถึงเสริมสร้างความยืดหยุ่นในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวถึงความสำคัญของความร่วมมือในครั้งนี้ว่า "การผนึกกำลังกับ TikTok ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก และเครือข่ายมหาวิทยาลัยชั้นนำ จะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาพลเมืองอัจฉริยะและความยืดหยุ่นทางดิจิทัลในประเทศไทย ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันและอนาคต" ด้านผู้แทนจาก บริษัท ติ๊กต๊อก เทคโนโลยีส์ จำกัด ได้แสดงความยินดีและเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้ เพื่อให้ความร่วมมือนี้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน โดยเชื่อมั่นว่าการทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมในวงกว้าง ความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ครอบคลุมหลากหลายด้าน อาทิ การพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัล การจัดอบรมและสัมมนา การแลกเปลี่ยนบุคลากรและองค์ความรู้ รวมถึงการดำเนินโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพลเมืองอัจฉริยะและความยืดหยุ่นทางดิจิทัล ซึ่งคาดว่าจะนำไปสู่การสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพและพร้อมรับมือกับความท้าทายในโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
13 พฤษภาคม 2568     |      8
ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยพายัพ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการบริหารงานวิจัยและบริการวิชาการ
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2568 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ พร้อมด้วยผู้บริหารและบุคลากร ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยพายัพ นำโดย อาจารย์ ดร.ฐิติ ฐิติจำเริญพร ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ ในโอกาสเข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหารและดำเนินงานของกองบริหารงานวิจัยและกองบริหารงานบริการวิชาการ การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ จัดขึ้น ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารจัดการงานวิจัยและบริการวิชาการระหว่างสองสถาบัน ในช่วงเช้า กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งทุนวิจัย กระบวนการและระบบการยื่นขอทุน รวมถึงแนวทางการยื่นขอทุนร่วมกับคณะต่างๆ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุบรรณ ฝอยกลาง รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายวิจัย ได้ให้ภาพรวมและรายละเอียดที่สำคัญ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน ต่อมาในช่วงบ่าย กองบริหารงานบริการวิชาการ ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่เป้าหมายการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนในระดับสถาบัน ระบบการบริหารจัดการงานภายในองค์กร โครงการบริการวิชาการที่เป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัย และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในงานบริการวิชาการ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ สุภาพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริการวิชาการ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ซึ่งสร้างความเข้าใจและจุดประกายแนวคิดใหม่ๆ ให้กับคณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยพายัพ การศึกษาดูงานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่ทั้งสองสถาบันจะได้เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนางานวิจัยและบริการวิชาการของแต่ละหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป บรรยากาศการประชุมเป็นไปด้วยความราบรื่นและเต็มไปด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย
13 พฤษภาคม 2568     |      10