สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

งานประกวดฟ้อนเล็บ ครั้งที่ 3 วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2556 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ณ ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์

Smileดาวโหลดกำหนดการ,กติกา,ใบสมัคร


กำหนดการแข่งขันประกวดฟ้อนเล็บล้านนาไทยครั้งที่ 3
 

วันอาทิตย์ที่  21  เมษายน  2556 

ณ ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่ 

--------------------------------------------- 

 

เวลา  17.00  น.          ลงทะเบียน

เวลา  18.00  น.          พิธีเปิดการแข่งขันประกวดฟ้อนเล็บล้านนาไทย ครั้งที่ 3

                             กล่าวรายงานโดย...รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ   ข้ามสี่

                                                                 ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

                             กล่าวเปิดงานโดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร  ยศราช

                                                    อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้

เวลา  18.30  น.          ดำเนินการแข่งขันประกวดฟ้อนเล็บ 

เวลา  21.30  น.          พิธีมอบรางวัล โดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร  ยศราช

                                                    อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

กติกาการประกวดฟ้อนเล็บล้านนาไทย ครั้งที่ 3

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2556  เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป 

ณ  ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่

๑.          ลักษณะการประกวด 

ประกวดฟ้อนเล็บให้ประกวดเป็นคณะ ผู้เข้าประกวดต้องเป็นเพศหญิง จำนวน ๘-12 คน

โดยจะรับสมัครเพียงจำนวน 10 ทีมเท่านั้น

๒.         วิธีการประกวด 

2.1)  การแต่งกายของผู้เข้าประกวด

-  เสื้อ                ใช้เสื้อแขนกระบอก คอกลม หรือคอจีน หรือคอยะวาผ่าอกตลอด

-   ผ้านุ่ง             ใช้ผ้าซิ่นตีนต่อลายขวาง หรือตีนดำ หรือตีนลวด หรือตีนจกแบบมีเชิง หรือผ้าทอยกดอกแบบมีเชิงในตัว (ไม่อนุญาตให้นุ่งผ้าถุงสำเร็จ)

-   ผ้าสไบ           ใช้ผ้าสไบสีพื้น ไม่มีลวดลาย เช่น ผ้าแพรเยื่อไม้ ผ้าต่วน หรือผ้าสไบฟ้อนเมือง ถ้าใช้สไบโปร่งทองต้องนุ่งผ้าซิ่นทอยกดอกมีเชิง (ไม่อนุญาตให้ใช้สไบโปร่งเงิน)

-   ทรงผม           เกล้ามวยผมแบบญี่ปุ่น หรือเกล้ามวยผมแบบพื้นเมืองเหนือ(เกล้าเรียบร้อย หรือชักหงีบ)

-   ดอกไม้           ดอกไม้ประดับมวยผมใช้ดอกกล้วยไม้ (เอื้องผึ้ง เอื้องหลวง) ของสด หรือของเทียม หรือดอกไม้ไหวทอง ไม่อนุญาตให้ใช้ดอกไม้ไหวเงิน)จะมีพวงอุบะก็ได้ แต่ต้องไม่ยาวเกินคางหรือต้นคอ

-   เล็บ               ผู้ฟ้อนทุกคนต้องสวมเล็บมือ

2.2)  ท่าฟ้อน 

          ใช้ท่าฟ้อนเล็บแบบพื้นเมือง เช่น ท่าไหว้ ท่าบิดบัวบาน ท่ายอน ท่าสะบัดจีบ ท่าเชื่อมต่างๆ

2.3)    ระยะเวลาการประกวด 

         ผู้ฟ้อนของแต่ละคณะ จะใช้ท่าฟ้อนแสดงลีลาการฟ้อนต่างๆ เช่น วงกลม ตั้งแถว ฯลฯ      แต่ต้องไม่มีแบบประยุกต์ เช่น ต่อตัว ออกมังกรล่อแก้ว ฯลฯ ใช้เวลาประมาณ 8-10 นาที

2.4)    ดนตรีประกอบ 

          ให้ทางคณะผู้เข้าประกวดจัดเตรียมเพลงลงแผ่นซีดีมาเอง

2.5)    ผู้เข้าร่วมประกวด 

          ผู้เข้าประกวดแต่ละคณะ ต้องไม่ซ้ำกัน

2.6)   คณะกรรมการจัดการประกวด 

                        คณะกรรมการ จะจัดคณะในการฟ้อนประกวด เรียงตามลำดับการมารายงานตัวของ       แต่ละคณะในวันทำการประกวด

2.7)    ผู้เข้าร่วมประกวด 

                        ผู้เข้าประกวดต้องมารายงานตัวต่อคณะกรรมการจัดการประกวด ในวันทำการประกวด    ในวันอาทิตย์ที่  21  เมษายน 2556  เวลา 17.00-18.00 น.

2.8)    การสนับสนุนทีมผู้เข้าประกวด 

          คณะกรรมการการจัดประกวด สนับสนุนให้คณะที่เข้าร่วมประกวด คณะละ 1,000 บาท

๓.          เกณฑ์การตัดสิน (ถือมติคณะกรรมการการตัดสินเป็นที่สิ้นสุด) โดยพิจารณาจากเกณฑ์ดังนี้ 

  1. ความพร้อมของแต่ละคณะ
  2. จังหวะการฟ้อน
  3. ลีลาท่าฟ้อน
  4. มารยาทของผู้ฟ้อน
  5. การแต่งกาย
  6. การตรงต่อเวลา

๔.          รางวัลการประกวด 

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1    จำนวน  1  รางวัล           7,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

รางวัลชนะเลิศอันดับ 2    จำนวน  1  รางวัล           5,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

รางวัลชนะเลิศอันดับ 3    จำนวน  1  รางวัล           3,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

รางวัลชมเชย                 จำนวน  2  รางวัลๆ ละ    1,500 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

๕.          กำหนดการรับสมัคร   ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันพุธที่ 17 เมษายน 2556  

ก่อนเวลา 12.00 น. 

๖.          สถานที่รับสมัคร        

นายณัฐวุฒิ  เครือฟู                    

ฝ่ายยุทธศาสตร์และประสานงานวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

โทร 0-5387-5114, 081-9936621

Fax 0-5387-5118

Email: researchmju@mju.ac.th

Email: raemju@gmail.com

 

ชมภาพการประกวดฟ้อนเล็บล้านนาไทย ครั้งที่๒ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๕ <<< คลิ๊ก...

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 38672

กลุ่มข่าวสาร : อื่นๆ

ข่าวล่าสุด

พิธีมอบรางวัลอันทรงเกียรติ ตราสัญลักษณ์ G-Green ระดับดีเยี่ยม
มหาวิทยาลัยแม่โจ้คว้ารางวัล "สำนักงานสีเขียว" ระดับดีเยี่ยม ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม แม่โจ้, เชียงใหม่ - 14 พฤษภาคม 2568 : กลุ่มสำนักงานอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สร้างผลงานโดดเด่นด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คว้าเกียรติบัตรตราสัญลักษณ์ G-Green ระดับดีเยี่ยม จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิธีมอบรางวัลอันทรงเกียรติจัดขึ้นเมื่อเวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ภานุวัฒน์ เมฆะ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริหาร นำทีมตัวแทนจากหน่วยงานภายในอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา 3 หน่วยงาน เข้ารับมอบรางวัล ประกอบด้วย สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์, สถาบันรับรองระบบการผลิตผลิตภัณฑ์การเกษตร และหน่วยความเป็นเลิศด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าว เกียรติบัตรตราสัญลักษณ์ G-Green ดังกล่าวเป็นผลมาจากการเข้ารับการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ประจำปี 2567 ซึ่งมีระยะเวลาการรับรองตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 ถึง 6 พฤศจิกายน 2570 ครอบคลุมระยะเวลา 3 ปีเต็ม ความสำเร็จครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการเป็นองค์กรต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของประเทศ การได้รับการรับรองในระดับดีเยี่ยมนี้ ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องยืนยันมาตรฐานการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นแรงผลักดันให้บุคลากรทุกระดับของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ภาพข่าว: ผู้บริหารและตัวแทนหน่วยงานจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับมอบเกียรติบัตรตราสัญลักษณ์ G-Green ระดับดีเยี่ยม จากอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้**
15 พฤษภาคม 2568     |      65
อบรม"พลิกโฉมการทำงานยุคใหม่ด้วย Generative AI" เสริมศักยภาพบุคลากรรับมือโลกดิจิทัล
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2568 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ "พลิกโฉมการทำงานยุคใหม่ด้วย Generative AI" เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ (Generative AI) ในการปฏิบัติงานจริง โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ภานุวัฒน์ เมฆะ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริหาร ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการฝึกอบรม โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยี AI มาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการดำเนินงานในยุคปัจจุบัน วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ นายปริญญา เพียรอุตส่าห์ นักเอกสารสนเทศ ได้ถ่ายทอดความรู้เชิงลึกและเทคนิคการใช้งานเครื่องมือ Generative AI หลากหลายรูปแบบ ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมอย่างเข้มข้น ณ ห้องบริการสารสนเทศ ชั้น 2 อาคารเรียนรวมแม่โจ้ 70 ปี การอบรมครั้งนี้มุ่งเน้นให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้เรียนรู้และเข้าใจถึงศักยภาพของ Generative AI ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้ถึงแนวทางการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในการจัดกระบวนการทำงานให้รวดเร็ว ลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน และเพิ่มความคล่องตัวในการบรรลุเป้าหมายของแต่ละสายงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภานุวัฒน์ เมฆะ กล่าวเพิ่มเติมว่า "การฝึกอบรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาบุคลากรของสำนักวิจัยฯ ที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการยกระดับศักยภาพของบุคลากรให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล Generative AI ถือเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพสูงที่จะช่วยให้บุคลากรของเราสามารถทำงานได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น" การอบรม "พลิกโฉมการทำงานยุคใหม่ด้วย Generative AI" ในครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมต่างได้รับความรู้และแนวทางในการนำ Generative AI ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรโดยรวมต่อไป.
13 พฤษภาคม 2568     |      65
พิธีลงนาม MOU โครงการพัฒนาพลเมืองอัจฉริยะและความยืดหยุ่นทางดิจิทัล
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2568 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ บริษัท ติ๊กต๊อก เทคโนโลยีส์ จำกัด และอีก 5 มหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ มหาวิทยาลัยพะเยา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ครั้งสำคัญ เพื่อร่วมกันพัฒนาความเป็นพลเมืองอัจฉริยะและความยืดหยุ่นทางดิจิทัล พิธีลงนามดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้กล่าวต้อนรับและนำเสนอแนวทางความร่วมมืออันจะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม ความร่วมมือครั้งนี้มีเป้าหมายหลักในการสร้างสรรค์และพัฒนาศักยภาพของพลเมืองดิจิทัลให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างสร้างสรรค์ ปลอดภัย และมีความรับผิดชอบ รวมถึงเสริมสร้างความยืดหยุ่นในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวถึงความสำคัญของความร่วมมือในครั้งนี้ว่า "การผนึกกำลังกับ TikTok ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก และเครือข่ายมหาวิทยาลัยชั้นนำ จะเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาพลเมืองอัจฉริยะและความยืดหยุ่นทางดิจิทัลในประเทศไทย ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันและอนาคต" ด้านผู้แทนจาก บริษัท ติ๊กต๊อก เทคโนโลยีส์ จำกัด ได้แสดงความยินดีและเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและองค์ความรู้ เพื่อให้ความร่วมมือนี้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน โดยเชื่อมั่นว่าการทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมในวงกว้าง ความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ครอบคลุมหลากหลายด้าน อาทิ การพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัล การจัดอบรมและสัมมนา การแลกเปลี่ยนบุคลากรและองค์ความรู้ รวมถึงการดำเนินโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพลเมืองอัจฉริยะและความยืดหยุ่นทางดิจิทัล ซึ่งคาดว่าจะนำไปสู่การสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพและพร้อมรับมือกับความท้าทายในโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
13 พฤษภาคม 2568     |      2033
ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยพายัพ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการบริหารงานวิจัยและบริการวิชาการ
เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2568 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ พร้อมด้วยผู้บริหารและบุคลากร ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยพายัพ นำโดย อาจารย์ ดร.ฐิติ ฐิติจำเริญพร ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ ในโอกาสเข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหารและดำเนินงานของกองบริหารงานวิจัยและกองบริหารงานบริการวิชาการ การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ จัดขึ้น ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการบริหารจัดการงานวิจัยและบริการวิชาการระหว่างสองสถาบัน ในช่วงเช้า กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งทุนวิจัย กระบวนการและระบบการยื่นขอทุน รวมถึงแนวทางการยื่นขอทุนร่วมกับคณะต่างๆ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุบรรณ ฝอยกลาง รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายวิจัย ได้ให้ภาพรวมและรายละเอียดที่สำคัญ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน ต่อมาในช่วงบ่าย กองบริหารงานบริการวิชาการ ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่เป้าหมายการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนในระดับสถาบัน ระบบการบริหารจัดการงานภายในองค์กร โครงการบริการวิชาการที่เป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัย และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ในงานบริการวิชาการ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรินทร์ สุภาพันธ์ รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริการวิชาการ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ซึ่งสร้างความเข้าใจและจุดประกายแนวคิดใหม่ๆ ให้กับคณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยพายัพ การศึกษาดูงานและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่ทั้งสองสถาบันจะได้เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนางานวิจัยและบริการวิชาการของแต่ละหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป บรรยากาศการประชุมเป็นไปด้วยความราบรื่นและเต็มไปด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย
13 พฤษภาคม 2568     |      18