สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

ทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ คว้ารางวัล จากการประกวดและแสดงผลงานในระดับนานาชาติ ในงาน  IX European Exhibition of Creativity and Innovation : E U R O I N V E N T Palace of Culture เมือง IASI ประเทศโรมาเนีย ระหว่างวันที่ 25 - 27 พฤษภาคม 2560 โดยมีสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมและการประดิษฐ์ไทย (ATIP) มีส่วนผลักดันความสำเร็จในครั้งนี้ ซึ่งมีผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล จำนวน 4 รางวัล ดังนี้

  1. ผลงาน เรื่องอาหารเสริมน้ำตาลพรีไบโอติกจากหัวหอม” ( ALLI-FOS®, Prebiotic Sugar Supplement) โดย อาจารย์ ดร.ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย โขนงนุช คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
            - รางวัล “special award” จาก สมาคม Association of Polish Inventors and Rationalizers จากประเทศโปแลนด์ 

  2. ผลงาน เรื่องระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมสำหรับไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวเพื่อการขยายพันธุ์พืชระดับอุตสาหกรรม”(Advanced Computerized-control System of Temporary Immersion Bioreactor for Industrial Plantlets Micropropagation) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พูนพัฒน์ พูนน้อย คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตรและ รองศาสตราจารย์ ดร.นพมณี โทปุญญานนท์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
             - รางวัล “Gold Medal Award” จาก Innovation Design Research International Symposium (IDRIS) ประเทศ มาเลเชีย

  3. ผลงาน เรื่องสารสกัดสาหร่ายกรีนคาเวียร์อินทรีย์สำหรับผลิตภัณฑ์เวชสำอางชะลอวัย" (Organic extract of green caviar for anti-aging cosmeceutical products) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงพร อมรเลิศพิศาล คณะเทคโนโลยีกรประมงและทรัพยากรทางน้ำ รองศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ , ดร.ลภัทรดา มุ่งหมาย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา และคุณมณฑกานต์ ท้ามติ้น ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเพชรบุรี ร่วมกับ ผู้ประกอบการ คุณอิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ (ต๊อบ เถ้าแก่น้อย) บริษัท ดร.โทบิ จำกัด    
             - รางวัล “Special award” จาก สมาคม Association of Polish Inventors and and Rationalizers ประเทศโปแลนด์
             - รางวัล “Special Award” จาก Malaysian Research & Innovation Society ประเทศมาเลเซีย  
ปรับปรุงข้อมูล : 28/5/2560 9:22:00     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 1123

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวล่าสุด

ร่วมต้อนรับองคมนตรีและคณะ ในการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รักษาการแทนรองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ร่วมต้อนรับ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี และคณะ ในการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ณ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านโป่ง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ บรรยายสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาบ้านโปง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย นายธนวัฒน์ รอดขาว นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม พัฒนาอาชีพการปลูกดอกเบญจมาศและเก๊กฮวย รวมถึงการสนับสนุนการเรียนการสอน และงานบริการวิชาการให้แก่นักศึกษา เกษตรกรและประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพันธุ์ดี เช่น มะนาว ฝรั่ง กล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ และเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ การปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว  ปัจจุบันกิจกรรมในโครงการฯ มีดังนี้ 1. ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการปลูกดอกเบญจมาศและเก๊กฮวย รวมถึงงานบริการวิชาการให้แก่นักศึกษา เกษตรกร และประชาชนทั่วไป 2. เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพันธุ์ดี เช่น มะนาว ฝรั่ง กล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ 3. การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ การปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว
21 พฤศจิกายน 2567     |      11
โครงการปลูกต้นไม้และปล่อยกล้วยไม้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมโครงการปลูกต้นไม้และปล่อยกล้วยไม้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กิจกรรมในโครงการฯ ผู้เข้าร่วมได้ร่วมปลูกต้นรวงผึ้ง จำนวน 50 ต้นและปล่อยกล้วยไม้ จำนวน 100 ต้น  จัดโดย คณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมกับสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัย ณ บริเวณรอบอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทรา
6 พฤศจิกายน 2567     |      24