สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด  ลงนามความร่วมมือ กับ มูลนิธิชัยพัฒนา ว่าด้วย "ความร่วมมือในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช” โดยมี นายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และ นายชัยยศ สัมฤทธิ์กุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้และ กรรมการ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด เป็นผู้แทนลงนามทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ มีผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยาน  ณ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานคร
โอกาสนี้ รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า
"สืบเนื่องด้วยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้พัฒนาพันธุ์ผักจำนวน 19 พันธุ์ โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อและให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช โดยให้มูลนิธิเป็นผู้ทรงสิทธิในเมล็ดพันธุ์นี้ ซึ่งในเบื้องต้นมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์นี้ร่วมกับศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ภายใต้การกำกับดูแลของมูลนิธิชัยพัฒนาเพื่อพระราชทานแก่เกษตรกรผู้เพาะปลูก
บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด เป็นบริษัทที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดตั้งขึ้น เพื่อจำหน่ายเมล็ดพันธุ์อินทรีย์และสินค้าที่เกี่ยวข้องด้านเกษตรอินทรีย์ และเป็นสถานที่ให้ความรู้ด้านธุรกิจ เมล็ดพันธุ์ในการเกษตรอินทรีย์ มูลนิธิชัยพัฒนาพิจารณาแล้วมีความเห็นว่าการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เป็นอินทรีย์จำหน่ายให้แก่เกษตรกรจะก่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรในระบบอินทรีย์อย่างมาก เนื่องจากในการผลิตผักอินทรีย์นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ที่เป็นอินทรีย์และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เน้นขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพและสามารถนำไปปลูกต่อได้
มูลนิธิชัยพัฒนา และ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด จึงได้ตกลงร่วมมือในการผลิต เมล็ดพันธุ์ที่เป็นอินทรีย์ที่ได้จดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืชในนามของมูลนิธิชัยพัฒนา โดยให้มูลนิธิเป็นผู้ทรงสิทธิในเมล็ดพันธุ์นี้ ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้ปรับปรุงพันธุ์ ของเมล็ดพันธุ์นี้ด้วยกระบวนการผลิตที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนด"
??สำหรับเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ทั้ง 19 ชนิด ได้แก่ ถั่วฝักยาวสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีเหลืองเทพรัตน์ เบอร์ 1, ถั่วฝักยาวลายเสือจักรพันธ์ เบอร์ 1, มะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์,  พริกขี้หนูปู่เมธ, แตงไทยหอมละมุน, สลัดช่อผกาพัฒนาเอง, พริกพัฒนฉันท์, สลัดสวยงาม, ถั่วฝักยาวเสือเขียว, ถั่วฝักยาวเสือลายพาดกลอน, ถั่วฝักยาวเสือดุ, ถั่วฝักยาวเสือขาว, ถั่วพูของชอบ, สลัดของขวัญ, สลัดขายดี, สลัดรสดี และสลัดคนดี
??ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ Facebook: ศูนย์ปรับปรุงพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / ไลน์ไอดี: @firstorganicseeds (ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์) / E-Mail: 09farm.mju@gmail.com หรือโทร 091 070 5757
ทั้งนี้ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ มอบสมทบมูลนิธิชัยพัฒนา

ปรับปรุงข้อมูล : 29/10/2567 11:35:34     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 147

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวกิจกรรม

ข่าวล่าสุด

คาราวานคลินิกเทคโนโลยี สร้างชุมชนแห่งการรู้สู่นวัตกรรม
มหาวิทยาลัยแม่โจ้นำทีมจัดคาราวานคลินิกเทคโนโลยี สร้างชุมชนแห่งการรู้สู่นวัตกรรม ที่อำเภอพร้าว เชียงใหม่ - 16-17 กรกฎาคม 2568** มหาวิทยาลัยแม่โจ้ผ่านคลินิกเทคโนโลยี จัดนิทรรศการโครงการ "คาราวานคลินิกเทคโนโลยีเพื่อสร้างชุมชนแห่งการรู้ สู่ชุมชนนวัตกรรม" ระหว่างวันที่ 16-17 กรกฎาคม 2568 ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอพร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ผู้นำลงพื้นที่ การจัดงานครั้งสำคัญนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยเอก ดร. จิระชัย ยมเกิด ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้นำทีมคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ลงพื้นที่เพื่อนำเสนอองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่ชุมชน เวทีรวมพลังนวัตกรรมภาคเหนือ นิทรรศการครั้งนี้เป็นการรวมพลังและแสดงผลงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในภาคเหนือ โดยมุ่งเน้นการนำเสนอเทคโนโลยีที่สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงผลงานการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้จากศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอทั้ง 25 อำเภอ ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการขยายผลการเรียนรู้สู่ชุมชนในวงกว้าง เป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โครงการคาราวานคลินิกเทคโนโลยีมีเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้กับชุมชนอย่างเป็นระบบการจัดงานในรูปแบบนี้ช่วยให้ชุมชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพชีวิต การประกอบอาชีพ และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในระยะยาว สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง การเลือกจัดงาน ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอพร้าว เป็นการสร้างต้นแบบที่ดีในการกระจายความรู้สู่พื้นที่ห่างไกล และเป็นการเสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างสถาบันการศึกษาและชุมชนท้องถิ่น ผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชน โครงการคาราวานคลินิกเทคโนโลยีครั้งนี้คาดว่าจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในชุมชน โดยชุมชนจะได้รับองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาธุรกิจ การเกษตร และการดำรงชีวิต นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนให้เจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการสร้างชุมชนนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง.
17 กรกฎาคม 2568     |      628
สัมมนาทบทวนแผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ 2568
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "การทบทวนแผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2568"เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2568 ณ ห้องประชุม 304 สำนักวิจัยฯ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้นำองค์กรเปิดงานอย่างเป็นทางการ การสัมมนาครั้งสำคัญนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยผู้บริหารและบุคลากรสำนักวิจัยฯ เข้าร่วมอย่างครบครัน วัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาองค์กร สัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อทบทวนและปรับปรุงแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และวางแผนกลยุทธ์สำหรับการขับเคลื่อนภารกิจในอนาคต การมีส่วนร่วมของทีมงาน การจัดสัมมนาในรูปแบบเชิงปฏิบัติการเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับได้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิเคราะห์สถานการณ์ และร่วมกันหาแนวทางในการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและเป้าหมายขององค์กร สถานที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การเลือกใช้ห้องประชุม 304 สำนักวิจัยฯ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เป็นสถานที่จัดงาน สะท้อนให้เห็นถึงความเหมาะสมและการเตรียมความพร้อมที่ดีสำหรับการจัดกิจกรรมประเภทนี้ โดยสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการระดมสมองและการทำงานเป็นทีม ก้าวสำคัญสู่การพัฒนายั่งยืน การทบทวนแผนปฏิบัติการประจำปีถือเป็นกระบวนการบริหารจัดการที่สำคัญ ที่จะช่วยให้สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรสามารถปรับตัวและพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศอย่างยั่งยืน สัมมนาครั้งนี้คาดว่าจะส่งผลให้เกิดแผนปฏิบัติการที่มีความชัดเจน เป็นรูปธรรม และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อไป
30 มิถุนายน 2568     |      57