สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University

งานประกวดฟ้อนเล็บ ครั้งที่ 3 วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2556 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ณ ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์

Smileดาวโหลดกำหนดการ,กติกา,ใบสมัคร


กำหนดการแข่งขันประกวดฟ้อนเล็บล้านนาไทยครั้งที่ 3
 

วันอาทิตย์ที่  21  เมษายน  2556 

ณ ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่ 

--------------------------------------------- 

 

เวลา  17.00  น.          ลงทะเบียน

เวลา  18.00  น.          พิธีเปิดการแข่งขันประกวดฟ้อนเล็บล้านนาไทย ครั้งที่ 3

                             กล่าวรายงานโดย...รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ   ข้ามสี่

                                                                 ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

                             กล่าวเปิดงานโดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร  ยศราช

                                                    อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้

เวลา  18.30  น.          ดำเนินการแข่งขันประกวดฟ้อนเล็บ 

เวลา  21.30  น.          พิธีมอบรางวัล โดย...ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร  ยศราช

                                                    อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

กติกาการประกวดฟ้อนเล็บล้านนาไทย ครั้งที่ 3

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน 2556  เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป 

ณ  ข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  อำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่

๑.          ลักษณะการประกวด 

ประกวดฟ้อนเล็บให้ประกวดเป็นคณะ ผู้เข้าประกวดต้องเป็นเพศหญิง จำนวน ๘-12 คน

โดยจะรับสมัครเพียงจำนวน 10 ทีมเท่านั้น

๒.         วิธีการประกวด 

2.1)  การแต่งกายของผู้เข้าประกวด

-  เสื้อ                ใช้เสื้อแขนกระบอก คอกลม หรือคอจีน หรือคอยะวาผ่าอกตลอด

-   ผ้านุ่ง             ใช้ผ้าซิ่นตีนต่อลายขวาง หรือตีนดำ หรือตีนลวด หรือตีนจกแบบมีเชิง หรือผ้าทอยกดอกแบบมีเชิงในตัว (ไม่อนุญาตให้นุ่งผ้าถุงสำเร็จ)

-   ผ้าสไบ           ใช้ผ้าสไบสีพื้น ไม่มีลวดลาย เช่น ผ้าแพรเยื่อไม้ ผ้าต่วน หรือผ้าสไบฟ้อนเมือง ถ้าใช้สไบโปร่งทองต้องนุ่งผ้าซิ่นทอยกดอกมีเชิง (ไม่อนุญาตให้ใช้สไบโปร่งเงิน)

-   ทรงผม           เกล้ามวยผมแบบญี่ปุ่น หรือเกล้ามวยผมแบบพื้นเมืองเหนือ(เกล้าเรียบร้อย หรือชักหงีบ)

-   ดอกไม้           ดอกไม้ประดับมวยผมใช้ดอกกล้วยไม้ (เอื้องผึ้ง เอื้องหลวง) ของสด หรือของเทียม หรือดอกไม้ไหวทอง ไม่อนุญาตให้ใช้ดอกไม้ไหวเงิน)จะมีพวงอุบะก็ได้ แต่ต้องไม่ยาวเกินคางหรือต้นคอ

-   เล็บ               ผู้ฟ้อนทุกคนต้องสวมเล็บมือ

2.2)  ท่าฟ้อน 

          ใช้ท่าฟ้อนเล็บแบบพื้นเมือง เช่น ท่าไหว้ ท่าบิดบัวบาน ท่ายอน ท่าสะบัดจีบ ท่าเชื่อมต่างๆ

2.3)    ระยะเวลาการประกวด 

         ผู้ฟ้อนของแต่ละคณะ จะใช้ท่าฟ้อนแสดงลีลาการฟ้อนต่างๆ เช่น วงกลม ตั้งแถว ฯลฯ      แต่ต้องไม่มีแบบประยุกต์ เช่น ต่อตัว ออกมังกรล่อแก้ว ฯลฯ ใช้เวลาประมาณ 8-10 นาที

2.4)    ดนตรีประกอบ 

          ให้ทางคณะผู้เข้าประกวดจัดเตรียมเพลงลงแผ่นซีดีมาเอง

2.5)    ผู้เข้าร่วมประกวด 

          ผู้เข้าประกวดแต่ละคณะ ต้องไม่ซ้ำกัน

2.6)   คณะกรรมการจัดการประกวด 

                        คณะกรรมการ จะจัดคณะในการฟ้อนประกวด เรียงตามลำดับการมารายงานตัวของ       แต่ละคณะในวันทำการประกวด

2.7)    ผู้เข้าร่วมประกวด 

                        ผู้เข้าประกวดต้องมารายงานตัวต่อคณะกรรมการจัดการประกวด ในวันทำการประกวด    ในวันอาทิตย์ที่  21  เมษายน 2556  เวลา 17.00-18.00 น.

2.8)    การสนับสนุนทีมผู้เข้าประกวด 

          คณะกรรมการการจัดประกวด สนับสนุนให้คณะที่เข้าร่วมประกวด คณะละ 1,000 บาท

๓.          เกณฑ์การตัดสิน (ถือมติคณะกรรมการการตัดสินเป็นที่สิ้นสุด) โดยพิจารณาจากเกณฑ์ดังนี้ 

  1. ความพร้อมของแต่ละคณะ
  2. จังหวะการฟ้อน
  3. ลีลาท่าฟ้อน
  4. มารยาทของผู้ฟ้อน
  5. การแต่งกาย
  6. การตรงต่อเวลา

๔.          รางวัลการประกวด 

รางวัลชนะเลิศอันดับ 1    จำนวน  1  รางวัล           7,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

รางวัลชนะเลิศอันดับ 2    จำนวน  1  รางวัล           5,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

รางวัลชนะเลิศอันดับ 3    จำนวน  1  รางวัล           3,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

รางวัลชมเชย                 จำนวน  2  รางวัลๆ ละ    1,500 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

๕.          กำหนดการรับสมัคร   ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันพุธที่ 17 เมษายน 2556  

ก่อนเวลา 12.00 น. 

๖.          สถานที่รับสมัคร        

นายณัฐวุฒิ  เครือฟู                    

ฝ่ายยุทธศาสตร์และประสานงานวิจัย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

โทร 0-5387-5114, 081-9936621

Fax 0-5387-5118

Email: researchmju@mju.ac.th

Email: raemju@gmail.com

 

ชมภาพการประกวดฟ้อนเล็บล้านนาไทย ครั้งที่๒ เมื่อปีพ.ศ.๒๕๕๕ <<< คลิ๊ก...

ปรับปรุงข้อมูล : 1/1/2557 0:00:00     ที่มา : สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 38499

กลุ่มข่าวสาร : อื่นๆ

ข่าวล่าสุด

ร่วมต้อนรับองคมนตรีและคณะ ในการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล รักษาการแทนรองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ร่วมต้อนรับ นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี และคณะ ในการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ณ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านโป่ง ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ บรรยายสรุปผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาบ้านโปง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย นายธนวัฒน์ รอดขาว นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ สังกัดสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โครงการพัฒนาบ้านโปงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม พัฒนาอาชีพการปลูกดอกเบญจมาศและเก๊กฮวย รวมถึงการสนับสนุนการเรียนการสอน และงานบริการวิชาการให้แก่นักศึกษา เกษตรกรและประชาชนทั่วไป อีกทั้งยังเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพันธุ์ดี เช่น มะนาว ฝรั่ง กล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ และเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ การปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว  ปัจจุบันกิจกรรมในโครงการฯ มีดังนี้ 1. ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการปลูกดอกเบญจมาศและเก๊กฮวย รวมถึงงานบริการวิชาการให้แก่นักศึกษา เกษตรกร และประชาชนทั่วไป 2. เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพันธุ์ดี เช่น มะนาว ฝรั่ง กล้วยไม้ และไม้ดอกไม้ประดับ 3. การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ การปลูกไม้ใช้สอยโตเร็ว
21 พฤศจิกายน 2567     |      12
โครงการปลูกต้นไม้และปล่อยกล้วยไม้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมโครงการปลูกต้นไม้และปล่อยกล้วยไม้ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กิจกรรมในโครงการฯ ผู้เข้าร่วมได้ร่วมปลูกต้นรวงผึ้ง จำนวน 50 ต้นและปล่อยกล้วยไม้ จำนวน 100 ต้น  จัดโดย คณะผลิตกรรมการเกษตรร่วมกับสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัย ณ บริเวณรอบอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทรา
6 พฤศจิกายน 2567     |      24