สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University
พิธีเปิดงาน “U2T the Best” นิทรรศการสินค้าและผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
พิธีเปิดงาน “U2T the Best” นิทรรศการสินค้าและผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ เครือข่ายมหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบน จัดโดย สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองศาสตราจารย์ จักรพงษ์ พิมพ์พิมล รองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ และผู้บริหารมหาวิทยาลัย ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีเปิด และรับเกียรติจาก นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อรุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงาน พร้อมทั้งการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “อนาคตของประเทศไทยภายใต้การบูรณาการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)” นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม การมอบรางวัล “U2T The Best” และกิจกรรมเสวนา “วันวาน U2T วันนี้ BCG พรุ่งนี้ SDGs)” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำน่าน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาลี ตระกูล รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมผล ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิพัทธิ์ ถนอมพงษ์ชาติ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ อาจารย์ ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ดำเนินรายการโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ กิจกรรมเล่าเรื่อง U2T กับความสำเร็จของตำบล โดยตัวแทน 9 แห่ง ได้แก่ 1.ตำบลป่าซาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 2.ตำบลห้วยไร่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 3.ตำบลเมืองแปง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 4.ตำบลคลองน้ำไหล มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 5.ตำบลสันป่าเปา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 6.ตำบลป่าไผ่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 7.ตำบลตลาดขวัญ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 8.ตำบลโหล่งขอด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 9.ตำบลในเวียง สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-26 มีนาคม 2566 ณ ลานแกรนด์ฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การรค้าเซ็นทรัลแอร์พอร์ต
28 มีนาคม 2566     |      6
กิจกรรมการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่อดอกกกัญชง ณ จังหวัดอุดรธานี
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และบริษัท ทีเอ็นอาร์ ไบโอไซเอินซ์ จำกัด ร่วมกิจกรรมการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่อดอกกกัญชง ณ จังหวัดอุดรธานีผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นายเสกสรร สงจันทึก นักวิชาการเกษตร นางสาววัชรินทร์ จันทวรรณ์ นักวิจัย และทีมนักวิจัย งานปรับปรุงและขยายพันธุ์กรรมพืชและสัตว์ กองบริหารงานบริการวิชาการ สำนักวิจัยฯ ร่วมกิจกรรมการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่อดอกกกัญชง ของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 6 - 9 มีนาคม พ.ศ. 2566วันอังคารที่ 7 มีนาคม 2566 ร่วมกิจกรรมการสาธิตและขั้นตอนการเก็บเกี่ยวผลผลิตช่อดอกกัญชงให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกกัญชง ภายใต้โครงการวิจัยเชิงพัฒนาเพื่อส่งเสริมการปลูกพืชกัญชงเชิงพาณิชย์ครบวงจร จังหวัดอุดรธานี ของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ โดยสาธิตเทคนิคการตัดช่อดอกกัญชงในแปลงปลูกและวิธีการในการรูดช่อดอกกัญชง ก่อนการลดความชื้นด้วยการอบแห้ง โดยมี พลตำรวจตรีภานุเดช บุญเรือง ผู้อำนวยการโครงการวิจัยเชิงพัฒนาเพื่อส่งเสริมการปลูกพืชกัญชงเชิงพาณิชย์ครบวงจร และที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ ฯ และนายนพวัชร สิงห์ศักดา ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ ฯ ให้การต้อนรับและร่วมกิจกรรมดังกล่าว อีกทั้งยังมีการเชื่อมโยงขยายผลงานวิจัยความร่วมมือระหว่างบริษัท ทีเอ็นอาร์ ไบโอไซเอินซ์ จำกัด นำโดยคุณทศพล นิลกำแหง นายกสมาคมสหอุตสาหกรรมพืชกัญชงและกัญชา และผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค บริษัท ไทยนิปปอนรับเบอร์อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน) และเจ้าหน้าที่บริษัทฯ สนับสนุนขยายผลงานวิจัยสู่เกษตรกรผู้ปลูกกัญชง และบริษัท ฯ ได้มีการรับซื้อผลผลิตช่อดอกกัญชงอบแห้งของเกษตรกรภายใต้สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริวันพุธที่ 8-9 มีนาคม 2566 ทีมนักวิจัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วางแผนดำเนินงานเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตช่อดอกกัญชงและการรูดช่อดอกกัญชง จำนวน 909 ต้น เพื่อให้สามารถขนส่งช่อดอกกัญชงจากจังหวัดอุดรธานี ไปยังศูนย์ทดสอบ วิจัย และพัฒนากัญชง มหาวิทยาลัยแม่โจ้
20 มีนาคม 2566     |      79
การเยี่ยมชมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)
วันที่ 11 มีนาคม 2566 การเยี่ยมชมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ณัฐวุฒิ ดุษฎี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ตะวัน ฉัตรสูงเนิน รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายบริการวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปณ ชื่นบาล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และกลุ่มเกษตรกรตำบลหนองตองที่เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ให้การต้อนรับ นายสัมพันธ์ เย็นสำราญ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยนายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหาร ยุทธศาสตร์และคณะ ซึ่งในงานดังกล่าวมีการเยี่ยมชม ฐานการเรียนรู้การใช้จุลินทรีย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต, ฐานการเรียนรู้การทําปุ๋ยหมักไม่ต้องกลับกอง “วิศวกรรมแม่โจ้ 1", เยี่ยมชมสวนลำไยที่ใช้ปุ๋ยกับเชื้อจุลินทรีย์ และเยี่ยมชมโรงอบลำไย ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านป่าลาน ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
16 มีนาคม 2566     |      32
พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เรื่อง การส่งเสริมสนับสนุนทุนเพื่อการพัฒนาการวิจัยการเกษตรและบุคลากรด้านการเกษตร ระหว่าง สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) กับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันที่ 8 มีนาคม 2566 สำนักวิจัยฯ จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เรื่อง การส่งเสริมสนับสนุนทุนเพื่อการพัฒนาการวิจัยการเกษตรและบุคลากรด้านการเกษตร ระหว่าง สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) กับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้การต้อนรับ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) นำโดย นายชวลิต ชูขจร ประธานคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) นายวิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และคณะ ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ในการบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในด้านการพัฒนางานวิชาการ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้โดยดำเนินงานในลักษณะความร่วมมือทางวิชาการ รวมถึงดำเนินการร่วมกันเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาด้านการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร เทคโนโลยีการเกษตร และพัฒนางานวิจัยที่มีศักยภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตแก่เกษตรกร และการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าเกษตร ตลอดจนดำเนินการร่วมกันในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับภาคงานวิจัยการเกษตร ซึ่งจะช่วยให้เกิดการขยายผลงานวิจัย และผลการปฏิบัติงานให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง ด้านการเกษตรการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ Smart Farmerเพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ และสถาบันการศึกษาในการพัฒนางานวิชาการ ให้เกิดองค์ความรู้ในการดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการ ซึ่งพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว มีตัวแทนลงนามจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 3 ท่าน ได้แก่ 1.รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี 3.รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ และตัวแทนลงนามจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) 1 ท่าน ได้แก่ 1.นายวิชาญ อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) 
8 มีนาคม 2566     |      164
สำนักวิจัยฯ จัดการนำเสนอผลิตภัณฑ์แบบ Pitching U2T Thr Best โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) (ในรูปแบบออนไลน์)
วันที่ 7 มีนาคม 2566 สำนักวิจัยฯ จัดการนำเสนอผลิตภัณฑ์แบบ Pitching U2T Thr Best โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) (ในรูปแบบออนไลน์) โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ เป็นประธานในการเปิดงาน ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้  ขอเชิญรับชมการนำเสนอผลิตภัณฑ์แบบ Pitching U2T the Best โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) 1) ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหาร2) ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องนุ่งห่มOnsite ณ ห้องประชุม 301 ชั้น 3 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรรับชม online ผ่านระบบ ZOOMTopic: การนำเสนอผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการฯ (U2T for BCG) ในรูปแบบ Pitching ห้อง 1Time: Mar 7, 2023 07:00 BangkokJoin Zoom Meetinghttps://zoom.us/j/96217735697...Meeting ID: 962 1773 5697Passcode: 4147883) ผลิตภัณฑ์กลุ่มสมุนไพร4) ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางOnsite ณ ห้องประชุม 304 ชั้น 3 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรรับชม online ผ่านระบบ ZOOMTopic: การนำเสนอผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการฯ (U2T for BCG) ในรูปแบบ Pitching ห้อง2Time: Mar 7, 2023 07:00 BangkokJoin Zoom Meetinghttps://zoom.us/j/97909756431...Meeting ID: 979 0975 6431Passcode: 8667765) ผลิตภัณฑ์กลุ่มวัสดุเกษตร6) ผลิตภัณฑ์กลุ่มหัตถกรรมOnsite ณ ห้องสตูดิโอ ชั้น 5 อาคาร 70 ปีรับชม online ผ่านระบบ ZOOMTopic: การประกวดผลิตภัณฑ์ U2T The Best (Room 3)Time: Mar 7, 2023 08:00 BangkokJoin Zoom Meetinghttps://us06web.zoom.us/j/82017795405...Meeting ID: 820 1779 5405Passcode: 242781
7 มีนาคม 2566     |      187
สำนักวิจัยฯ ต้อนรับคณะนักเรียนจาก โรงเรียนสันกำแพง ณ แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ (15 ไร่) และ ศูนย์เรียนรู้วัฒธรรมเกษตรล้านนา (35 ไร่)
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับคณะนักเรียนจาก โรงเรียนสันกำแพง ตำบลทรายมูล อำเภอสันกำแพง  ในการดูทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ ทั้งนี้ โดยมี นายนิคม วงศ์นันตา ผู้อำนวยการกองบริหารงานบริการวิชาการ ว่าที่ร้อยตรี สมบูรณ์ ระดม นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ และนายนิคม สุทธา นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ เป็นวิทยากร ณ แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ (15 ไร่) และ ศูนย์เรียนรู้วัฒธรรมเกษตรล้านนา (35 ไร่) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
24 กุมภาพันธ์ 2566     |      235
สำนักวิจัยฯ ต้อนรับคณะดูงานเทศบาลตำบลหนองบัวโคก จังหวัดชัยภูมิ ในการดูงาน ณ แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ (15 ไร่) และ ศูนย์เรียนรู้วัฒธรรมเกษตรล้านนา (35 ไร่)
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้อนรับคณะดูงานเทศบาลตำบลหนองบัวโคก จังหวัดชัยภูมิ ในการดูงาน เกี่ยวกับการทำการเกษตรตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมี นายนิคม วงศ์นันตา ผู้อำนวยการกองบริหารงานบริการวิชาการ ว่าที่ร้อยตรี สมบูรณ์ ระดม นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ และนายนิคม สุทธา นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ เป็นวิทยากร ณ แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ (15 ไร่) และ ศูนย์เรียนรู้วัฒธรรมเกษตรล้านนา (35 ไร่) มหาวิทยาลัยแม่โจ้
24 กุมภาพันธ์ 2566     |      216
ทั้งหมด 90 หน้า