สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University
ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้บริหารมหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเข้าร่วมงานสัมมมนาวิชาการ นวัตกรรมเกษตร อาหาร และ สุขภาพ
วันที่ 7 ธันวาคม 2565 รองศาสตราจาร์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ให้การต้อนรับ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเข้าร่วมงานสัมมมนาวิชาการ นวัตกรรมเกษตร อาหาร และ สุขภาพ พร้อมทั้งกล่าวปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “ได้เวลายกเครื่องเกษตรไทย” ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการเสวนา จำนวน 3 ประเด็นเสวนาดังนี้ 1. "เกษตรกรไทยกับเทรนด์ความยั่งยืน" โดย คุณณัฐพงษ์ พันธเกียรติไพศาล ที่ปรึกษาประธานคณะกรรมธิการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา 2. "นวัตกรรมอุตสาหกรรมเกษตรตอบโจทย์ตลาดโลก" โดย คุณธนารักษ์ พงษ์เภตรา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร 3. "สมาร์ทฟาร์มเมอร์: ทางออกเกษตรกรไทย" โดย คุณคมธวัช วัฒนศิลป์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกรว์เด่ (ประเทศไทย) จำกัด และนายกสมาคมสตาร์อัพเทคโนโลยีเกษตรไทย
7 ธันวาคม 2565     |      718
งานสัมมมนาวิชาการ นวัตกรรมเกษตร อาหาร และ สุขภาพ
สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดงานสัมมมนาวิชาการ นวัตกรรมเกษตร อาหาร และ สุขภาพ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ให้การต้อนรับ และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาเป็นประธานเปิดงาน พร้อมทั้งการกล่าวปาฐกถาพิเศษ "นโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เกษตร อาหาร และสุขภาพ" ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระหว่างวันที่ 6 - 7 ธันวาคม 2565 ซึ่งในงานดังกล่าวมีการจัดกิจกรรมดังนี้ การเสวนา "เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก" โดย คุณบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการบริหารและประธานกรรมการบริษัท กลุ่มมิตรผล คุณแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และ ดร.องอาจ กิตติคุณชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน)การสัมมนาทางวิชาการ "นวัตกรรมเกษตร อาหาร และสุขภาพ" กลุ่มที่ 1 เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร ประเด็นสัมมนา: “เทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานเพื่อการเกษตร” โดยมี รองศาสตราจารย์เสมอขวัญ ตันติกุล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ พลวงษ์ศรี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญ คงกระพันธ์, อาจารย์ ดร.สุรพล ริยะนา เป็นวิทยากร ประเด็นสัมมนา: บทความวิจัยเด่นที่นำไปใช้ประโยชน์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.นิวุฒิ หวังชัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิวัฒน์ พัฒนาวงศ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ วงศ์พุทธิสิน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะนุช เนียมทรัพย์, อาจารย์ ดร.ทิพปภา พิสิษฐ์กุล, อาจารย์วินัย แสงแก้ว, อาจารย์ ดร.วงค์พันธ์ พรหมวงศ์ เป็นวิทยากรกลุ่ม 2 นวัตกรรมการแปรรูปผลิตผลเกษตรและอาหาร ประเด็นสัมมนา: “การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและการเพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตร” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวาลี ชมภูรัตน์, อาจารย์ ดร.ดวงใจ น้อยวัน, อาจารย์ปณิดา กันถาด เป็นวิทยากร ประเด็นสัมมนา: “อาหารฟังก์ชันและนวัตกรรมอาหาร” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีระพล เสนพันธุ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัฐพงศ์ ปกแก้ว, คุณธนารักษ์ พงษ์เภตรา, ดร.พัฒนโชค สายอ้าย เป็นวิทยากร ประเด็นสัมมนา: “นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิตอลในงานด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พูนพัฒน์ พูนน้อย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวโรฒ บุญราศรี, คุณธนารักษ์ พงษ์เภตรา, ดร.พัฒนโชค สายอ้าย เป็นวิทยากรกลุ่ม 3 นวัตกรรมสุขภาพ ประเด็นสัมมนา: “ความท้าทายในการพลิกฟื้นธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพกับนวัตกรรมสุขภาพวิถีใหม่” โดยมี ดร.กำพล ภูผาวัฒนากิจ, ดร.กันต์สินี กันทะวงศ์วาร, คุณกรรณิการ์ ลือชา, คุณศุภมิตร กิจจาพิพัฒน์ เป็นวิทยากรกลุ่ม 4 กลุ่มนวัตกรรมสิ่งแวดล้อม ประเด็นสัมมนา: “การบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต (Carbon credit) ทั้งที่ในภาค พลังงานการจัดการของเสีย ป่าไม้ และพื้นที่สีเขียว” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.แหลมไทย อาษานอก, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต่อลาภ คำโย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มนตรี สิงหะวาระ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาพิศ ดิลกสัมพันธ์ ประเด็นสัมมนา: “บทความวิจัยเด่นทางด้านการออกแบบวางแผนสิ่งแวดล้อม” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พันธุ์ระวี กองบุญเทียม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วุฒิกานต์ ปุระพรหม, ผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์ศักดิ์ ภักดี, อาจารย์ ดร.ทำเนียบ อุฬารกุล เป็นวิทยากร ประเด็นสัมมนา: “Circular economy สำหรับการขับเคลื่อนการจัดการขยะและของเสียอย่างยั่งยืน” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มุจลินทร์ ผลจันทร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐปน ชื่นบาล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิรูป ผลจันทร์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุลักษณ์ สุมิตสวรรค์ เป็นวิทยากรกลุ่ม 5 นวัตกรรมการตลาดและธุรกิจการเกษตร ประเด็นสัมมนา: “ทางรอดธุรกิจในยุคดิจิทัล ด้วยนวัตกรรม” โดยมี อาจารย์ ดร.พนมพร เฉลิมวรรณ์, อาจารย์ ดร.จักรพงษ์ สุขพันธ์, อาจารย์ ดร.วินัย บังคมเนตร เป็นวิทยากร
7 ธันวาคม 2565     |      764
สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดนิทรรศการ สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดนิทรรศการผลงานวิจัย และผลิตภัณฑ์ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ การจัดนิทรรศการ คลินิกเทคโนโลยี และนิทรรศการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ในงานเกษตรภาคเหนือ ครั้งที่ 10 "นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน : Smart Agricultural Innovation for Sustainable Development Goals (SDGs)"
สำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดนิทรรศการผลงานวิจัย และผลิตภัณฑ์ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ การจัดนิทรรศการ คลินิกเทคโนโลยี และนิทรรศการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ในงานเกษตรภาคเหนือ ครั้งที่ 10 "นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน : Smart Agricultural Innovation for Sustainable Development Goals (SDGs)" โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อรทัย มิ่งธิพล รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ฝ่ายวิจัย เข้าร่วมพิธีเปิด พร้อมทั้งเยี่ยมชมนิทรรศการในงานดังกล่าว  ณ พื้นที่แปลงวิจัย 400 ไร่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 1-12 ธันวาคม 2565 
2 ธันวาคม 2565     |      547
International Symposium on Trends and Opportunities of Displacement of Fruit Tree Production Areas under Climate Change
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 สำนักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมจัดงาน International Symposium on Trends and Opportunities of Displacement of Fruit Tree Production Areas under Climate Change โดยมีรองศาสตราจารย์ดรวีระพลทองมาอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นประธานในงานพร้อมทั้งผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวินมะโนชัยรองศาสตราจารย์ดรอภินันท์สุวรรณรักษ์ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯผู้ช่วยศาสตราจารย์ดรเรืองชัยจูวัฒนสำราญคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรคณาจารย์เข้าร่วมในงานดังกล่าวนอกจากนี้ยังมีการบันทึกข้อตกลง (MOA) ระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ดรเรืองชัยจูวัฒนสำราญคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตรและ Dr. Wen-Li lee Diretor,Feng Tropical Horticultural Experiment Branch,Tawan Agricultrual Research Institute,COA,Tawan และการสัมมนาณห้องลีลาวดีโรงแรมฟูราม่าเชียงใหม่ซึ่งในงานสัมมานามีทั้งหมด 8 หัวข้อ ดังนี้ 1. Challenge and trend to produce Longan in Thailand  2. Challenge and opportunity: The impact of climate change on fruit production 3. Challenge and opportunity: The impact of climate change on fruit production in Malaysia 4. Challenge and trend to produce grapes and temperate fruit in tropical areas 5. Passion fruit and avocado production in Japan and the challenge of reducing chilling stress on them 6. Heavy rainfall has given rise to severe crop diseases caused by Phytophthora spp. n Taiwan - taking passion fruit as an example 7. Climatic factors affecting yield and yield prediction of aromatic coconut 8. Fruit production in the Philippines amidst climate change
30 พฤศจิกายน 2565     |      288
รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ร่วมพิธีลงนามความร่วมมือและการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในระดับภูมิภาค"
วันที่ 21 พฤศจิกายน 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ร่วมพิธีลงนามความร่วมมือและการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การขับเคลื่อนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในระดับภูมิภาค" ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ อว. ส่วนหน้า เครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เครือข่ายคลีนิคเทคโนโลยี เครือข่ายหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา และศูนย์ความเป็นเลิศ ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพมหานคร
22 พฤศจิกายน 2565     |      356
ผู้อำนวยการสำนักวิจัย และผู้อำนวยการกองบริการวิชาการ ร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการ "การจัดทำแผนปฎิบัติการของหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ประจำปีงบประมาณ 2566"
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 รองศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ และนายนิคม วงศ์นันตา ผู้อำนวยการกองบริหารบริการวิชาการ ร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการ "การจัดทำแผนปฎิบัติการของหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ประจำปีงบประมาณ 2566" โดย ผู้อำนวยการสำนักวิจัย ฯ ได้นำเสนอผลการดำเนินงานพื้นที่โครงการหลวงที่รับผิดชอบ 5 แห่ง และแผนการดำเนินงานปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 ตลอดจนเข้าร่วมรับฟังแนวทางการจัดทำแผนการดำเนินงาน ปี งบประมาณ 2567 ที่มุ่งสู่การพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุมแกรนด์วิวฮอล์ 1-2 โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว อ.เมือง จ.เชียงใหม่
9 พฤศจิกายน 2565     |      347
พิธีมอบเกียรติบัตรให้แก่นักวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ได้สร้างชื่อเสียงในระดับชาติ และนานาชาติ
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้สร้างชื่อเสียงให้แก่พิธีมอบเกียรติบัตรให้แก่นักวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ได้สร้างชื่อเสียงในระดับชาติ และระดับนานาชาติ ประจำปี 2565 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ญาณิน โอภาสพัฒนกิจ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มอบเกียรติบัตรแก่นักวิจัย ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งผลงานในระดับชาติ มีจำนวน 11 ผลงาน ดังนี้ 1.ชุดระบบดักจับและควบคุมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 2.ระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชด้วยระบบไบโอรีแอคเตอร์ 3.การสำรวจชนิดปลาทะเลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจบริเวณแนวปะการังน้ำตื้น (หินละแม) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ - ชุมพร 4.การประเมินสายพันธุ์ห้อมด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุลเพื่ออนุรักษ์ไว้ในสภาพถิ่นเดิมของจังหวัดแพร่ 5.ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตและระบบไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวต่อการเพิ่มปริมาณต้นเอื้องคำในสภาพปลอดเชื้อ 6.The Golden Orchid (Dendrobium chrysotoxum LindI.) Extracts - polysaccharides, Reducing Sugars, Soluble Proteins, and Their Antibacterial Properties 7.พฤกษศาสตร์ของต้นรวงผึ้งและการใช้ประโยชน์ในงานภูมิทัศน์ 8.Chemical Composition and Biological Properties of the Yellow Star (Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm.) Extracts 9.การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดสารฟินอลิกจากดอกเอื้องคำ โดยใช้เทคนิคสกัดด้วยไมโครเวฟ 10.การอนุรักษ์และพัฒนาเคี่ยม (Cotylelobium lanceolatum) แบบบูรณาการครบวงจร 11.การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของต้นรวงผึ้ง (Schoutenia glomerata King subsp. pergrina (Craib) Roekm.) ที่พบในเขตจังหวัดเชียงใหม่ด้วยเทคนิค HAT-RAP ผลงานในระดับนานาชาติ จำนวน 3 ผลงาน ดังนี้ 1.MJ Humus 2.Instant Coffee Beverage Supplemented with Microencapsulated Extract from Finger Root 3.Malt Beverage from Glutinous Rice Cultivated in Northern Thailand
9 พฤศจิกายน 2565     |      588
ทั้งหมด 107 หน้า