สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
The Office of Agricultural Research and Extension Maejo University
พิธีลงนามความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับ มูลนิธิชัยพัฒนา ในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดย บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด  ลงนามความร่วมมือ กับ มูลนิธิชัยพัฒนา ว่าด้วย "ความร่วมมือในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช” โดยมี นายสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และ นายชัยยศ สัมฤทธิ์กุล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้และ กรรมการ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด เป็นผู้แทนลงนามทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ มีผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นสักขีพยาน  ณ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานคร โอกาสนี้ รศ.ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า "สืบเนื่องด้วยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้พัฒนาพันธุ์ผักจำนวน 19 พันธุ์ โดย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อและให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช โดยให้มูลนิธิเป็นผู้ทรงสิทธิในเมล็ดพันธุ์นี้ ซึ่งในเบื้องต้นมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์นี้ร่วมกับศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ภายใต้การกำกับดูแลของมูลนิธิชัยพัฒนาเพื่อพระราชทานแก่เกษตรกรผู้เพาะปลูก บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด เป็นบริษัทที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้จัดตั้งขึ้น เพื่อจำหน่ายเมล็ดพันธุ์อินทรีย์และสินค้าที่เกี่ยวข้องด้านเกษตรอินทรีย์ และเป็นสถานที่ให้ความรู้ด้านธุรกิจ เมล็ดพันธุ์ในการเกษตรอินทรีย์ มูลนิธิชัยพัฒนาพิจารณาแล้วมีความเห็นว่าการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เป็นอินทรีย์จำหน่ายให้แก่เกษตรกรจะก่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรในระบบอินทรีย์อย่างมาก เนื่องจากในการผลิตผักอินทรีย์นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ที่เป็นอินทรีย์และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เน้นขั้นตอนการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพและสามารถนำไปปลูกต่อได้ มูลนิธิชัยพัฒนา และ บริษัท เฟิร์สท์ ออร์แกนิค ซีดส์ จำกัด จึงได้ตกลงร่วมมือในการผลิต เมล็ดพันธุ์ที่เป็นอินทรีย์ที่ได้จดทะเบียนคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืชในนามของมูลนิธิชัยพัฒนา โดยให้มูลนิธิเป็นผู้ทรงสิทธิในเมล็ดพันธุ์นี้ ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นผู้ปรับปรุงพันธุ์ ของเมล็ดพันธุ์นี้ด้วยกระบวนการผลิตที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนด" ??สำหรับเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ทั้ง 19 ชนิด ได้แก่ ถั่วฝักยาวสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1, ถั่วแขกสีเหลืองเทพรัตน์ เบอร์ 1, ถั่วฝักยาวลายเสือจักรพันธ์ เบอร์ 1, มะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์,  พริกขี้หนูปู่เมธ, แตงไทยหอมละมุน, สลัดช่อผกาพัฒนาเอง, พริกพัฒนฉันท์, สลัดสวยงาม, ถั่วฝักยาวเสือเขียว, ถั่วฝักยาวเสือลายพาดกลอน, ถั่วฝักยาวเสือดุ, ถั่วฝักยาวเสือขาว, ถั่วพูของชอบ, สลัดของขวัญ, สลัดขายดี, สลัดรสดี และสลัดคนดี ??ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ Facebook: ศูนย์ปรับปรุงพันธุ์และผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ / ไลน์ไอดี: @firstorganicseeds (ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์) / E-Mail: 09farm.mju@gmail.com หรือโทร 091 070 5757 ทั้งนี้ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ มอบสมทบมูลนิธิชัยพัฒนา
29 ตุลาคม 2567     |      111
พิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่นักวิจัยที่ได้รับรางวัลจากการแสดงและประกวดผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 สำนักวิจัยฯ จัดพิธีมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่นักวิจัยที่ได้รับรางวัลจากการแสดงและประกวดผลงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติ ด้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้มอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่นักวิจัย ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้  เพื่อเชิดชูเกียรติให้แก่นักวิจัยที่ได้รับรางวัล โดยมีนักวิจัยเข้ารับใบประกาศเกียรติคุณ ทั้งหมดดังนี้ รางวัลระดับนานาชาติ จำนวน 7 ผลงาน 12 รางวัล 1.รางวัล "JARS Reviewer Recognition (Excellence in Reviewing)" จากผลงาน The Feasibility Study for a Strong Community Development Guideline : A Case Study of Hua Takae Old Market Community. Journal of Architectural/Planning Research and Studies (JARS) Vol.21 Issue 1. 2024 (January-June) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิทยา ดวงธิมา สังกัด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม 2.รางวัล "Best Paper Award" Development of Date Fruit Wine จากผลงาน Development of Date Fruit Wine โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกวรรณ ตาลดี สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร 3.รางวัล "Best Presentation Award" จากผลงาน Sensory and Chemical Analysis of Low Fat Date Palm Ice cream  โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิวัฒน์ หวังเจริญ สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร 4.ราวัล "Best Presentation Award" จากผลงาน Development of a Low-cost Sensor-based Kit for nalyzing Egg Freshness โดย อาจารย์มุกริน หนูคง สังกัด คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร 5.รางวัล "Best Presentation Award" จากผลงาน A Development of Total Dissolved Solids using Electrocoagulation Technology for Tapioca Starch Industry Water Treatment System โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จีรววรณ พัชรประกิติ สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ 6. รางวัล "Silver Medal","CAI Award from China Association of Inventions (CAI)","Special Prize from The First Institute of Researchers and Inventors in I.R. Iran","Special Awards from Dindado Center for Research and Innovation" และ "Special Awards from Association of Polish Inventors and Rationalizers" จากผลงาน Avenue for Refreshment and Immunity “Taste the Revolution” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา  คงจรูญ สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ 7.รางวัล "The First Prize in International Journal on Robotics, Automation and Sciences" จากผลงาน Forecasting PM2.5 Concentrations in Chiang Mai using Machine Learning Models โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัลลิกา ราชกิจ สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ 8. รางวัล "Outstanding Reviewer Winner" โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณี คงดี อัลเดรด สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ รางวัลระดับชาติ 1 ผลงาน 1 รางวัล 1.รางวัล "Best Paper Award" จากผลงาน การยับยั้งแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในงานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชด้วยอนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ที่สังเคราะห์ โดย BACILLUS VELEZENSIS รหัส (AGR-P36) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศรีกาญจนา คล้ายเรือง สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ ผลงานที่ร่วมจัดแสดงและประกวดในงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติปี 2567" จำนวน 6 ผลงาน 1.การเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน (ไฟฟ้า ความเย็น และความร้อน) และวัสดุอย่างยั่งยืน  โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นัฐพร ไชยญาติ สังกัด วิทยาลัยพลังงานทดแทน 2.นวัตกรรมถ่านชีวภาพดัดแปลงเพื่อการจัดการซากวัสดุเหลือทิ้งจาก  การเกษตรสำหรับพัฒนาชุมชนเกษตรแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน สังกัด คณะวิทยาศาสตร์ 3.หยิน-หยาง: ผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์ส่งเสริมการเจริญเติบโตสำหรับพืชผักสวนครัว โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่-เฉลิมพระเกียรติ 4.Bio-SynCap ไบโอซินแคป โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่-เฉลิมพระเกียรติ 5.การคัดแยกและคัดเลือกแบคทีเรียที่สามารถสกัดไคโตซานจากขยะเปลือกกุ้ง โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่-เฉลิมพระเกียรติ 6.ชีวนวัตกรรมปุ๋ยจากจุลินทรีย์อัดแท่งร่วมกับฝุ่นข้าวโพดอาหารสัตว์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร จันทร์ฉาย สังกัด มหาวิทยาลัยแม่โจ้แพร่-เฉลิมพระเกียรติ
25 ตุลาคม 2567     |      123
พิธีเปิด “ร้านเก๊าไม้แม่โจ้” ณ กาดแม่โจ้ 2477
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 ผู้บริหารและบุคลากรสำนักวิจัยฯ ร่วมพิธีเปิด “ร้านเก๊าไม้แม่โจ้” ในความร่วมมือของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร คณะผลิตกรรมการเกษตร และฟาร์มมหาวิทยาลัย ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดพิธี กล่าวรายงาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพล เลาห์รอดพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ การเปิดกิจการร้านเก๊าไม้แม่โจ้ เพื่อจำหน่ายพันธุ์ไม้และผลผลิตทางการเกษตร ตลอดจนการบริหารจัดการร้านค้าในเชิงธุรกิจ ให้เกิดประโยชน์และรายได้ต่อหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย โดยพันธุ์ไม้และผลผลิตทางการเกษตร ที่จะนำมาจำหน่าย ประกอบด้วย ไม้ดอก ไม้ประดับ พืชผัก และไม้ผล  ณ กาดแม่โจ้ 2477Tiktok : https://www.tiktok.com/@are.maejouniversity?is_from_webapp=1&sender_device=pc Facebook : Facebook Youtube : https://www.youtube.com/@raemju
7 ตุลาคม 2567     |      666
งาน "ร้อยสานรัก ด้วยจิตผูกพัน" แสดงมุทิตาจิตผู้เกษียณอายุสำนักวิจัยฯ ประจำปี 2567
เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ผู้บริหารและบุคลากรสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมงาน "ร้อยสานรัก ด้วยจิตผูกพัน" แสดงมุทิตาจิตผู้เกษียณอายุสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2567 ณ เฮือนสมิธา อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ กล่าวต้อนรับผู้เกษียณอายุ พร้อมมอบของที่ระลึกแก่ผู้เกษียณอายุ เพื่อเชิดชูคุณความดีแก่ผู้เกษียณอายุที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ มาเป็นเวลาอันยาวนาน กิจกรรมภายในงานมีการนำเสนอ Presentation ประวัติของผู้เกษียณอายุ ผู้เกษียณอายุกล่าวแสดงความรู้สึก ผู้บริหารและบุคลากรมอบของที่ระลึกให้ผู้เกษียณ และรับชมการแสดงของบุคลากรสำนักวิจัยฯ ซึ่งในปีนี้มีผู้เกษียณอายุของสำนักวิจัยฯ จำนวน 5 ท่าน ดังนี้ 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย 2. รองศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ข้ามสี่   3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์วัลย์ เมฆกมล 4. นางสาวรังสิมา อัมพวัน 5. นายยุทธนา ชำนาญ
30 กันยายน 2567     |      595
งานแสดงกตเวทิตาจิตผู้เกษียณอายุ ประจำปี 2567 กตเวทิตาจิต ร้อยดวงใจสานสายใยชาวแม่โจ้
เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2567 ผู้บริหาร และบุคลากรสำนักวิจัยฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมงานแสดงกตเวทิตาจิตผู้เกษียณอายุ ประจำปี 2567 "กตเวทิตาจิต ร้อยดวงใจสานสายใยชาวแม่โจ้" โดยในปี 2567 มีบุคลากรสำนักวิจัยฯ เกษียณอายุจำนวน 2 ท่าน ได้แก่ นางสาวรังสิมา อัมพวัน ตำแหน่งนักวิจัยชำนาญการพิเศษ สังกัดกองบริหารงานบริการวิชาการ และนายยุทธนา ชำนาญ ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ สังกัดกองบริหารงานสำนักวิจัยฯ ซึ่งในโอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวขอบคุณและอวยพร พร้อมทั้งมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับผู้เกษียณอายุ ภายในงานผู้บริหารและบุคลากรสำนักวิจัยฯ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยฯ ได้มอบของที่ระลึกแก่ผู้เกษียณอายุของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ ตระหนักถึงความสำคัญและความเสียสละของบุคลากรทุกท่าน และร่วมน้อมคารวะต่อผู้อาวุโสที่ครบวาระเกษียณอายุ ผู้สร้างคุณูปการต่อองค์กรและต่อสังคม ซึ่งในปีนี้ มีผู้เกษียณอายุจำนวน 31 ท่าน ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
25 กันยายน 2567     |      121
ต้อนรับองค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร โดย นายนิคม สุทธา นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้กับผู้บริหาร สมาชิกสภาท้องถิ่น พนักงานส่วนตำบล พนักงานจ้าง ตัวแทนกลุ่มพัฒนาสตรีและผู้นำหมู่บ้าน องค์การบริหารส่วนตำบลแม่เจดีย์ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย จำนวน 40 คน พร้อมถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ณ แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
25 กันยายน 2567     |      151
ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากโครงการ Agriculture Sustainability and Culture Exchange Program
เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร โดย ว่าที่ร้อยตรี สมบูรณ์ ระดม ผู้จัดการศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเกษตรธรรมชาติ การเกษตรแบบล้านนา วิธีการผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์ สำหรับใช้ในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ให้กับกลุ่มนักศึกษาในโครงการ "Agriculture Sustainability and Culture Exchange Program" จำนวน 50 คน ณ ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากนั้นได้เข้าไปศึกษาดูงานต่อที่แปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี นายนิคม สุทธา นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ เรื่อง เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมฝึกปฏิบัติ
25 กันยายน 2567     |      104
ทั้งหมด 107 หน้า